โรคและศัตรูกล้วยไม้



โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)

โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)
เป็นโรคที่เกิดกับกล้วยไม้แทบทุกพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้กลุ่มแวนด้า สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์ของเชื้อราจะแพร่ กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้น ระยะให้ทางลมให้พัดผ่าน ได้สะดวก
อาการของโรค
1.) จากที่ยอดใบเริ่มแรก จุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลื่ยนเป็นน้ำตาล แล้วเป็นสีดำ ในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ
2.) อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ทางยอดลงมาหรือโคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชูใบเหลืองและเน่าดำ หลุดจากต้นโดยง่ายหรือเรียกว่าเป็น “โรคแก้ผ้า”

      จากภาพ ราได้เข้าใส้แวนดาต้นนี้ ทำให้แวนดาทิ้งใบล่างทีละใบสองใบ ระหว่างที่ใบ เราจะสังเกตุเห็นว่า บริเวณที่ใบได้ร่วงไปแล้ว ลำจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อเชื้อลามขึ้นสู่ยอด ใบของกล้วยไม้ก็จะร่วงจนหมดเหลือ เพียงยอดเท่านั้น ในภาพ
จะเห็นว่า แวนดาได้พยายามแทงหน่อใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่รอด ทั้งนี้ให้ลองสังเกตุที่ใบครับ ใบเหี่ยวย่น ไม่มีน้ำมีนวล แปลว่าด้านในลำลูกกล้วยคงถูกทำลายท่อส่งอาหาร ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นแวนดาต้นนี้ จบชีวิตแน่นอนครับ

**เมื่อราเข้าใส้ เราจะสังเกตุเห็นว่า ใบล่างเริ่มหลุดลงทีละใบ ๆ ลักษณะใบเริ่มเหี่ยวย่นไม่เต่งตึงเหมือนแต่ก่อน ผิดสังเกตุอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพบอาการดังกล่าว ให้เรารีบตัด ลำต้นของต้นที่ถูกราเข้าใส้ ถ้ารายังลามไม่ถึงใกล้ยอดของกล้วยไม้ เราจะยังพอเยียวยาด้วยการตัดลำกล้วยไม้มาชำต่อได้ แต่หากราลามไปใกล้ยอดแล้ว ก็หมดสิทธิ์ครับ ตายแน่นอน
*** การรักษาอีกวิธี ว่ากันว่า หากห้อยหัวกล้วยไม้ลง โดยให้ยอดชี้ลงกับพื้น เชื้อรา จะไม่วิ่งเข้าทำลายยอดครับ เนื่องจาก ราจะวิ่งเข้าหาแสง เมื่อกลับหัว แทนที่ราจะพุ่งไปด้านบนสู่ยอดกล้วยไม้ ก็จะเดินทางย้อนกลับไปยังโคนกล้วยไม้แทน ซึ่งวิธีนี้จะพอเยียวยาไม่ให้กล้วยไม้ถูกราทำลายได้ ระหว่างนี้ ก็ให้รีบตัดส่วนที่เสียหายทิ้งเสีย โดยต้องตัดให้ห่างจากจุดที่มีเชื้อประมาณ 5 นิ้ว และทายากลบปากแผล ให้แขวนกล้วยไม้ห้อยหัวลงและทิ้งไว้ในร่ม รดน้ำเช้าเย็นจนกว่าจะมีรากใหม่ครับ 

การป้องกันและกำจัด
1.) เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
2.) ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรทีใช้ตัด ด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูน แดง เพื่อกันเชื้อโรคเข้า
3.) ใช้ยาป้องกันเชื้อรารด อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เป็นพวก เมนโคเซบ เช่น แมนเซบ200 , ไดแทนเอ็ม45
4.) ควรฉีดพ่นยาช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตก จนถึงค่ำ

โรคใบขี้กลาก ,โรคราชบุรี ,โรคขี้กลากราชบุรี

โรคใบขี้กลาก ,โรคราชบุรี ,โรคขี้กลากราชบุรี
สาเหตุของโรค : เกิดจาดเชื้อรา Phyllosticta sp.
อาการของโรค
1.) เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำรูปกระสวย หรือ ยาวรีอยู่กระจัดกระจายบนใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วติดต่อกันเป็นแผลกลุ่มใหญ่
2.) ใบจะเปลื่ยนเป็นสีเหลือง ร่วงจากต้น เร็วกว่าปรกติ
3.) ลูบดูที่แผล จะรู้สึกสากมือ



การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้เร็วมาก ในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ปลิวไปตามลมและฟุ้งกระจายไปกับละอองน้ำขณะฉีดพ่นกล้วยไม้
การป้องกันและกำจัด
1.) เก็บใบที่เป็นเด็ดออกมา ทำลายทิ้งให้หมดโดยการเผา
2.) ใช้สารเคมีฉีดพ่น กันเชื้อสาเหตุควบคู่ไปด้วย ใช้สารแมนโคเซบ เช่น ไดเทนเอ็ม45 ,แมนแซท 200,เอซินแมก ,หรือ สารเบนโนมิล เช่น เบนเลท เบนโนมิล 50 ฉีดพ่นทั้งด้านบน และใต้ใบ




โรคแอนแทรคโนส (Anthranose)

โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลแคทลียา ออนซีเดียม แวนด้า หวาย แมงปอ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Colletorichumsp. เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสปอร์เป็นรูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวและมีเส้นใยสีดำแข็งหรือ สร้างสปอร์เป็นรูปไข่ไม่มีสีหรือสีใส

อาการของโรค แอนแทรคโนส
อาการส่วนใหญ่เกิดที่ใบเป็นแผล รูปวงกลมหรือวงรีสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกเป็นวงใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็น แผลค่อนข้างกลมถ้าเกิดที่ปลายใบ แผลจะลามมาที่โคนใบกล้วยไม้ที่ใบอวบน้ำมากเช่น แคทลียาใบจะเน่าเปลือยถ้าฝนตกชุกโดยปรกติจะเป็นแผลแห้งติดกับลำต้น บางคนเรียกโรคนี้ว่า “โรคใบไหม้”
การแพร่ระบาด
โรคแอนแทรกโนส มักเกิดบนแผลใบกล้วยไม้ ที่ถูกแดดจัด เชื้อสาเหตุอาจลุกลามไปยังดอกได้ด้วยเชื้อนี้ชอบความชื้นสูงพบระบาดมากใน ช่วงฤดูฝน และในสภาพรังกล้วยไม้ที่ได้รับแดดจัด

การป้องกันและกำจัด
1.) อย่าให้กล้วยไม้ถูกแดดจัดเพราะจะทำให้ใบไหม้ สุก และทำให้เกิดแผล ควรทำร่มเงาขึ้นปกคลุมและ ระวังการให้ น้ำขณะแดดจัด จะทำให้เซลพืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย
2.) พยายามตัดใบที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ และป้องกันการลุกลาม
3.) ฉีดพ่นด้วย ยา แอนทราโคล , เดอโรซาล , บาวิสติน60 WL,ฟัลคาโซล 50, เบนด้า มัยซิน








Thrips เพลี้ยไฟ , ตัวกินสี , แมลงกินสี

      เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี แมลงศัตรูกล้วยไม้ชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ราว ๆ 0.5 มิลลิเมตร หากมองตาเปล่าเราจะเห็นว่าเพลี้ยไฟมีสีน้ำตาลเข้ม เล็กเรียวและเร็ว เพลี้ยไฟ มักเข้าทำลายกล้วยไม้ในช่วงฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน บางครั้งเราอาจพบมันทุกฤดูกาลเลยก็ได้ ซึ่งคงไม่มีใครอยากเจอะเจอมันซักเท่าไหร่ สิ่งที่ แมลงกินสี ชนิดนี้ชำนาญที่สุดนั่นก็คือ การเข้าทำลายดอกของกล้วยไม้ แน่นอนมันทำงานกันเป็นครอบครัว เพลี้ยไฟ จะวางไข่บริเวณใบของกล้วยไม้และเติบโตเป็นอาชญากรตั้งแต่วัยกระเตาะ ไม่จำเป็นต้องมีผู้สอน มันสามารถดูดน้ำเลี้ยงกล้วยไม้ได้ทันทีที่มันลืมตาดูโลก สิ่งที่เหล่าตัวอ่อนของ เพลี้ยไฟ ไม่มีอย่างตัวเต็มวัยนั่นก็คือปีก เมื่อมันเริ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันจะเริ่มกางปีกและบินจู่โจมช่อดอกกล้วยไม้รายต่อไป ซึ่งอาหารโปรดอันโอชะของมันคือ แวนด้า หวาย และ กล้วยไม้วัยอนุบาล



     ร่องรอยของเพลี้ยไฟหลังจากก่อการร้ายเรามักจะพบช่อดอกของกล้วยไม้ แห้ง ซึ่งเป็นผลจากการที่เพลี้ยไฟดูดน้ำ เลี้ยงที่ดอกของกล้วยไม้อย่างรุนแรง หรือ เป็นร่องรอยสีขาวขยุกขยิก สีของกล้วยไม้ซีดจางลง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ เพลี้ยไฟ ได้ชื่ออีกอย่างว่า แมลงกินสี หรือ ตัวกินสีนั่นเอง ในกรณีที่ เพลี้ยไฟ เข้าทำร้ายต้นอ่อนของกล้วยไม้นั้น มันจะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงของต้นอ่อนบริเวณโคนใบ และหาก เพลี้ยไฟ พร้อมใจสามัคคีกัน มันจะรุมกันดูดน้ำเลี้ยงต้นอ่อนอย่างโหดร้ายทารุนจนกระทั่งใบเป็นสีน้ำตาลอมแดง แล ดูคล้ายไฟ มันจึงได้รับฉายาว่า เพลี้ยไฟ ไงละครับ



วิธีป้องกันและกำจัด เพลี้ยไฟ
1) ควรหมั่นตรวจดูกล้วยไม้ในโรงเรือน และเมื่อได้กล้วยไม้ที่จัดหามาใหม่ ควรแยกไว้เพื่อตรวจดูเพลี้ยไฟ ที่อาจติด มากับต้นกล้วยไม้ จนแน่ใจว่าปลอดจาก เพลี้ยไฟ หรือศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ จึงค่อยนำเข้าไปแขวนรวมในโรงเรือน

2) เมื่อตรวจพบให้แยกกล้วยไม้ที่มี เพลี้ยไฟ ทำลายออกมาอย่าปล่อยให้อยู่ปะปนกับกล้วยไม้อื่น ๆ บางต้นที่ถูก ทำลายจนทรุดโทรมมากควรเผาทำลายเสีย เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ เพลี้ยไฟ ถ้าต้นกล้วยไม้มีอาการไม่มาก ก็ สามารถใช้สารเคมี รักษาได้

3) การใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่น สามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารเคมีชนิดดูด ซึม เช่นสารในกลุ่มเมทโธมิล หรือ คาร์บาริล หรือกลุ่มสาร คาร์บาเมท(คาร์โบซัลเฟน) ซึ่งมีชื่อทางการค้าต่างๆกัน อัตราการ ใช้ควรใช้ตามคำแนะนำข้างฉลากขวด ระวังอย่าให้ละอองถูกตัวผู้ฉีด ควรฉีดพ่น 1-2 อาทิตย์ ต่อครั้งเพื่อ เป็นการป้องกัน หรือเมื่อมีการระบาดของ เพลี้ยไฟ หรือฉีดป้องกันในขณะที่กล้วยไม้แทงช่อดอก นอกจากนี้ควรรักษา พื้นโรงเรือนให้สะอาด ไม่มีวัชพืช หรือพืชที่ปลูกใต้พื้นเรือนโรง และควรพ่นย่าแมลงที่พื้นดินในโรงเรือนด้วย เพราะ เนื่องจากตัวอ่อนเพลี้ยไฟมัก ฝักตัวและเข้าดักแด้ในดิน

เพลี้ยหอย , เพลี้ยเกล็ด (Scales insect)

     เมื่อใบของกล้วยไม้เริ่มมี สิ่งผิดปกติเกิดขึ้น และพบว่าบริเวณนั้นมีบางอย่างคล้ายกับเปลือกหอยเกาะอยู่ ให้นักเลี้ยงฟันธงได้ทันทีว่ากล้วยไม้ต้นนั้นกำลังถูก เพลี้ยหอย จัดการแล้ว ด้วยรูปร่างลักษณะของแมลงศัตรูพืชชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มหอยที่ ปักหลักอยู่ตามคานไม้คานเหล็กตาม ท้องทะเลและปะการัง มันจึงได้ชื่อสมยานามว่า เพลี้ยหอย นอกจากนี้มันยังมีอีกชื่ออย่างเป็นทางการว่า เพลี้ยเกล็ด ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องมาจากว่า เมื่อ เพลี้ยหอย ชวนเพื่อนฝูงมาปาตี้ดูดรุมโทรมกินน้ำเลี้ยงกล้วยไม้จนเป็นกระจุกทับถมกัน แล้วมันแลดูคล้ายกับเกล็ดนั่นเอง เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด มีพี่น้องร่วมสายพันธุ์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีลำตัวกลม และชนิดที่มีลำตัวเป็นรูปทรงวงรี ทั้งสองชนิดต่างก็เป็นศัตรูที่ร้ายกาจไม่ต่างกัน



     เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด เป็นเพลี้ยที่ไม่ค่อยชอบการเคลื่อนไหวมากนัก มันอาจจะเดินเพียงแค่ 2 ครั้งทั้งชีวิต ทันทีที่มันออกจากไข่ มันจะเริ่มเคลื่อนไหวออกหาตำแหน่งเหมาะ ๆ และใช้ปากเจาะลงยังตำแหน่งนั้น ราวกับจะยึด เป็นที่มั่นทางการรบ มันจะไม่ยอมไปไหน และคอยดูดน้ำเลี้ยงกล้วยไม้จนกระทั่งกลายเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งการปักหลัก ถิ่นฐานเช่นนี้เป็นลักษณะพิเศษของ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด โดยเฉพาะ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “sessile” หมายถึง ติดอย่างถาวร
     เมื่อมันเจริญเติบโตเต็มที่ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด จะสร้างเปลือกแข็งหุ้มลำตัวคล้ายเกราะป้องกันการซึมของ น้ำ เพื่อป้องกันภัย เมื่อถึงเวลาวางไข่ ไข่ของมันจะถูกฟูมฟักภายในเปลือกแข็งนี้นั่นเอง หากส่องด้วยกล้องจุลทัศน์จะ พบว่า ไข่ถูกยึดด้วยเส้นใยสีขาวที่อยู่ในเปลือกแข็งนี้นั่นเอง เมื่อ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด วางไข่จนหมด มันจะแห้ง ตาย ไปในที่สุด
      ฤดูที่ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด ขยายพันธุ์ได้ดีคือช่วงฤดูแล้ง แต่ในช่วงฤดูฝนพบว่ามันมีอัตราการขยายพันธุ์ที่ ต่ำกว่าปกติ แต่ถึงกระนั้น มันสามารถแพร่พันธุ์ได้ทั้งปี



วิธีป้องกันกำจัด เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด 
1) หมั่นตรวจดูกล้วยไม้เป็นประจำ ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยทำลายให้แยกออกมาจากกลุ่มต้นดี เพื่อทำการรักษาต่อไป ถ้าหากมีเพลี้ย อยู่หนาแน่นควรเผาทำลายต้นกล้วยไม้นั้นทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
2) ควรตรวจตรากล้วยไม้ที่ได้มาใหม่ก่อนนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในโรงเรือนอย่างละเอียด เช่นเดียวกับการปฏิบัติในกรณี เพลี้ยไฟ
3) การใช้ยาฆ่าแมลง ยาที่ใช้ได้ผลดีกับเพลี้ยหอย ได้แก่ยาชนิดดูดซึมร่วมกับสารจับใบ เพื่อช่วยให้ยาติดกับต้นและ ใบกล้วยไม้มากที่สุด ยาที่ใช้เช่น ยาฆ่าแมลงในกลุ่มสารสารกลุ่ม โมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน , ไวย์เดท หรือ พอสซ์
***** ในกรณีไม้นิ้ว สามารถจุ่มรวมกันได้ โดยแช่ 2-3 นาทีเพื่อให้ยาแทรกซึม แล้วยกผึ่งไว้ หากจำนวนกล้วยไม้ไม่มาก อาจใช้แปรงฟันขัดบริเวณที่ เพลี้ยหอย เกาะอยู่ได้ ขนแปรงจะช่วยให้ยาเข้าไปในเปลือกของเพลี้ยได้โดยง่าย

มาลองกำจัดเพลี้ยเกล็ดด้วยสมุนไพรไทย ๆ กันครับ สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1. กระเทียม
2. พริกไทย
3. สารเคลือบใบ (น้ำยาล้างจาน, น้ำมันพืช) อะไรก็ได้ครับ
ก่อนอื่น ก็โขกกระเทียมกับพริกไทย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เสร็จแล้วก็ นำน้ำอุ่น ๆ มาผสม ถ้าผสมมากมันจะเจือจางก็ผสมเท่าที่ดูแล้วรสเข้มข้นหวานมันกำลังดีนะครับ เสร็จแล้วก็ทิ้งสักพัก แล้วก็หาผ้าสะอาดมากรองเอาแค่น้ำออกมา นำน้ำที่ได้นี้ผสมกับสานเคลือบใบที่เตรียมไว้ แล้วก็เอาไปพ่นใส่ใบที่มีเพลี้ยเกล็ดหรือเพลี้ยหอยอยู่ สังเกตุผล ลองดูนะครับ

ไรแดง หรือ แมงมุมแดง

     ไรแดง เป็นสัตว์เล็กๆจำพวกแมงไม่ใช่แมลง(แมลงมีขา 3 คู่ แมงมีขา 4 คู่)ไรเป็นสัตว์เล็กๆที่พบอยู่ทั่วไม่ว่าทุกหน ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นในดินในน้ำ ในเศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ ในอาหารในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บนพืชบนตัว สัตว์และแม้กระทั่งบนร่างกายของมนุษย์ ไรที่เป็นตัวเบียนอาศัยอยู่บนตัวสัตว์ อาจทำให้เจ็บป่วยล้มตายได้ทำให้เกิด ความเสียหายกับสัตว์เลี้ยง ไรบางชนิดที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือน อาจทำลายอาหารที่เก็บไว้หรือปะปนอยู่ในฝุ่นละออง ข้าวของเครื่องใช้ เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยของคน เช่นโรคภูมิแพ้ ไรหลายชนิดทำลายต้นพืชและผลผลิต แต่ อย่างไรก็ตามยังมีไรอีกเป็นจำนวนมากที่การดำรงชีวิตของมันเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ และสภาพแวดล้อมเช่นไรที่ อาศัยในดิน ไรเหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซาก อินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่รากพืชสามารถดูดซึมไปใช้ ได้ง่ายขึ้น จนบางครั้งเราสามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความหลากหลาย และปริมาณของไร ที่อาศัย อยู่ในดิน ไรบางชนิดเป็นตัวห้ำของไรและแมลงศัตรูพืช ช่วยให้เกิดความสมดุลย์ของธรรมชาติ ปัจจุบันเราสามารถนำ เอาไรตัวห้ำเหล่านี้มาใช้ในการควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิดไม่ให้เกิดการระบาดและ เพื่อลดการใช้สาร เคมีกำจัดศัตรูพืช

     นักสัตววิทยาจำแนกไรและเห็บให้อยู่ใน Phylum Arthropoda เช่นเดียวกับแมลง เพราะไรมีขาเป็นปล้องๆเรียงต่อ กันและมีผนังลำตัวแข็งห่อหุ้มร่างกาย ไรไม่มีฟันกรามสำรับกัดแทะเหมือนแมลงแต่อวัยวะที่ทำหน้าที่เสมือนปาก ของ ไรเป็นลักษณะคล้ายท่อที่เรียกว่า chelicera และไม่มีหนวดเหมือนแมลงไรมีขา๔คู่(๘ขา) ขณะที่แมลงมีขา๓คู่(๖ขา)
      ไรศัตรูพืชสามารถก่อความเสียหายแก่พืชโดยตรง แล้วยังสามารถติดปนเปื้อนไปกับผลิตผลทางการเกษตร ทั้ง ดอก ผล หรือต้นพืชที่ผู้ผลิตจะทำการส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศเป็นผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าและ กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้ ไรศัตรูพืชบางชนิดนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แล้วยัง เป็นพาหะนำโรคต่างๆของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากไวรัส เช่นไรสี่ขาในวงศ์ Eriophyidaec และไร แมงมุมบางชนิดในวงศ์ Tetranychidae
ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ (Orchid flat mite)
ชื่อสามัญ: Phalaenopsis mite
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tenuipalpus pacificus Baker.
วงศ์: Tenuipalpidae
อันดับย่อย: Actinedida
รูปร่างลักษณะของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
ตัวเมีย - มีสีแดงสดตัวแบน ความยาวตัวโดยเฉลี่ย ๓๔๒.๗ ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย ๑๙๘.๒ ไมครอน ; ด้านหน้าลำ ตัวกว้าง แล้วค่อยๆหักคอดแคบลงตรงส่วนท้าย ; ขาทั้ง๔คู่ค่อนข้างสั้น มีสีส้ม ; บนลำตัวด้านสันหลังมีแถบสี สีดำ อัน เกิดจากสารอาหาร ที่อยู่ภายในลำตัว ; บนสันหลังค่อนไปทางด้านข้างลำตัวมีจุดสีแดงอยู่๒ข้าง ; ระยางค์ปาก (palp) มี๓ปล้อง ; ด้านข้างลำตัวนับจากขา๒ คู่หลังมาถึงส่วนท้าย มีขน (lateral setae) จำนวน๕ คู่ ; ขนคู่ที่อยู่ถัด จากคู่สุดท้าย มีลักษณะยาวคล้ายแส้ ส่วนคู่ อื่นๆมีลักษณะป็นแผ่นคล้ายใบไม้ ; ขนที่อยู่ในตำแหน่งอื่นๆบนหลังเป็น เส้นสั้นๆ ; มีขนกลางหลังนับจากบริเวณ ขา๒คู่หลัง มาจนถึงส่วนท้าย ๓ คู่ ; ลำตัวด้านท้องบริเวณที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างขาทั้ง๔คู่ มีขน anterior medioventral setae ๒คู่ และ posterior medioventral setae อีก ๒คู่

ตัวผู้ - ความยาวของลำตัวโดยเฉลี่ย ๒๙๗.๔ไมครอน ; กว้าง ๑๕๔.๐ ไมครอน ; ลำตัวมีสีแดงสด ; ลักษณะตังแบน เช่นกันแต่ ด้านท้ายของลำตัวจะหัก คอดแคบเล็กกว่าตัวเมีย ; มีแถบสีดำที่เกิดจากสารอาหารภายในลำตัวปรากฏ ชัดเฉพาะสองข้างลำตัว ; ตรงส่วนปลายด้านท้องข้างใต้ลำตัว มีอวัยวะเพศผู้ (aedeagus) เป็นแผ่นแหลมยื่นออก มานอกลำตัวเล็กน้อย



     T.pacificus เป็นศัตรูสำคัญของกล้วยไม้โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบดอกลำต้นและส่วน ต่างๆของกล้วยไม้ การทำลายเกิดได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ นับตั้งแต่กล้วยไม้มีขนาดเล็กเป็นต้น กล้าอยู่ในกระถางหมู่ (community pods) ไปจนถึงระยะออกดอก และติดฝัก ไรมักจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบในระยะ แรกผิวใบที่ถูกทำลายจะเป็นจุดด่างขาวเล็กๆและ มีคราบสีขาวๆของไรกระจายอยู่ทั่วไป คล้ายกับมีฝุ่นจับอยู่ที่ใบ และเห็นตัวไรเป็นจุดสีแดงเล็กๆเกาะอยู่ ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด อยู่เป็นกลุ่มๆหรือติดกันเป็นปื้น บางครั้งหากมีการ ระบาดรุนแรง อาการอาจ ลุกลามเรื่อยมาจนถึงลำต้น กาบใบ และราก ผิวใบบริเวณที่ถูกทำลายจะ ยุบลงและค่อยๆ เปลื่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบจะ แห้งและ ร่วงในเวลาต่อมา มัก พบเห็นอยู่เสมอ ในสวนกล้วยไม้โดยเฉพาะ เมื่อ สภาพ อากาศร้อน ภายในโรงอบชื้น ในกรณีที่ทำลายกล้ากล้วยไม้ต้นเล็กๆในกระถางหมู่ ทำให้กล้ากล้วยไม้ชะงัก การ เจริญเติบโตและแห้งตายทั้งกระถาง

ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ นอกจากจะ พบทำลายใบกล้วยไม้แล้ว บางครั้งยังพบการดูดทำลายอยู่ที่กลีบดอก ลักษณะการทำลายที่ดอกแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ

ก. ลักษณะเป็นจุดสีม่วงเข้ม เรียกกันว่า “หลังลาย” ไรจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูมอยู่ เมื่อดอกบานจึงปรากฏ แผล จากการดูดทำลายซึ่งมักปรากฏบริเวณกลีบล่างๆ เรื่อยไปจนถึงโคนกลีบ และก้านดอก มักพบการทำลายบน กล้วยไม้สกุลหวาย (dendrobium spp.)

ข. ลักษณะเป็นจุดนูนและบุ๋ม ขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุด มีสีขาวซีด และสีน้ำตาลที่หลังกลีบดอก เรียกกันว่า “หลัง ขี้กลาก” สีของกลีบดอกจะด่าง กลีบดอกมีขนาดเล็กลงและ บิดเบี้ยวส่วนดอกตูมขนาดเล็กที่ถูกไรกิน จะฝ่อ แห้งเป็น สีน้ำตาลและหลุดร่วงจากก้านช่อดอก

วงจรชีวิตของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
      จากการศึกษาวงจรชีวิตของไรชนิดนี้ในประเทศไทย พบว่า T.pacificus จะเจริญเติบโตนับจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใน เวลา ๒๓.๕๒ + - ๐.๒๗ วัน ตัวเมียภายหลังจากลอกคราบครั้งที่สามเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะได้รับการผสมทันทีจากตัว ผู้ และต่อมาอีกประมาณ ๓.๒๔ + - ๐.๐๘ วันจึงเริ่มวางไข่ ไข่มีลักษณะ คล้ายแคปซูล คือค่อนข้างยาว หัวท้ายมน ขนาดของไข่ยาว ๑๓๓.๒๕ ไมครอน กว้าง ๗๔.๗๒ ไมครอน มีส้มสด ปลายด้านหนึ่งของไข่มีขนบางๆเล็กๆหนึ่งเส้น ตัวอ่อนเมื่อฝักจากไข่ใหม่ๆมีขาเพียงสามคู่ และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ๓ครั้ง ตัวอ่อนในระยะที่๑,๒,๓ ใช้ ระยะเวลาในการเจริญเติบโตนาน ๔.๕๘ + - ๐.๐๙ วัน ๔.๕๑ + - ๐.๑๒ วัน และ๔.๖๖ + - ๐.๑๑ วันตามลำดับ ตัว เต็มวัยมีอายุได้นาน ๓๓.๖๕ + - ๐.๕๕ วัน ตัวเมีย สามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิตเฉลี่ย วันละ๑-๒ฟอง ลูกที่เกิดจะมี อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมีย ๑ : ๔

เขตแพร่กระจายและฤดูกาลระบาดของ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
       พบการระบาดในกล้วยไม้จากทุกแหล่งปลูกทั่วประเทศไทย จะระบาดมากในช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนและ ในโรงเรือนที่มีความอบชื้น การแพร่กระจายของไรอาจเป็นไปได้โดย ลมการติดไปกับต้นกล้วยไม้ หรือการเคลื่อนย้าย ของไรโดยตรงจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ติดกัน และโดยการแยกหน่อของกล้วยไม้ต้นที่มีไรทำลายอยู่ จากต้น หนึ่งไปปลูก ทำให้ไรสามารถแพร่กระจายไปยังท้องที่ต่างๆได้ไกลๆ



สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาด ของไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้
      จาการศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดการระบาดของไรใน สวนกล้วยไม้ ของเกษตรกร พบว่าส่วนใหญ่ มีสาเหตุเนื่องมาจาก

1) การปลูกกล้วยไม้ในที่แออัดเกินไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีการแตกหน่อและมีใบดกหนา และถ้าวางชิดกันมากหรือ เว้นที่ว่างในแปลงปลูกน้อยจนเกินไป ทำให้การดูแลรดน้ำและการฉีดพ่นสารเคมี เป็นไปได้ไม่ทั่วถึง ทำให้ไรมีโอกาส หลบซ่อน และแพร่ระบาดได้ง่าย

2) การปลูกพืชอื่นที่เป็นที่อาศัยของไร เช่นไม้ใบจำพวกเฟิร์นใต้ต้นกล้วยไม้ หรือในบริเวณโรงเรือนที่ปลูก กล้วยไม้ซึ่ง เกษตรกรนิยม ทำในปัจจุบัน พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ ทำให้การป้องกันกำจัดไรศัตรู กล้วยไม้ไม่ได้ผล เท่าที่ควร เพราะ เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารฆ่าไรบนกล้วยไม้ โดยไม่ได้ฉีดพ่นสารบนพืชที่อยู่ข้างล่าง โดยเฉพาะเฟิร์น เป็นพืชอาศัยที่ไรชอบมาก แต่เกษตรกรมักละเลยไม่ใส่ใจ ทำให้ไรสามารถแพร่พันธุ์ และเคลื่อนย้าย ขึ้นมาทำลาย ระบาดสร้างความเสียหายแก่กล้วยไม้ด้านบนได้อีก

3) การเก็บกล้วยไม่ที่หมดสภาพไว้ในโรงเรือน โดยไม่ได้มีการดูแลเป็นสาเหตุให้กล้วยไม้เหล่านี้กลายเป็นแหล่งเพาะ พันธุ์ และแพร่ขยายของไรศัตรูพืช กล้วยไม้เหล่านี้ปรกติเป็นกล้วยไม้ เก่าที่ปลูกเลี้ยงมานานอยู่ในสภาพออกดอก น้อย แต่เกษตรกรมัก เสียดาย ที่จะทำลายทิ้ง จึงยังคงเก็บไว้โดยไม่ได้ดูแลดีเท่าที่ควร

***พืชอาหารของไรชนิดนี้: เฟิร์นใบมะขาม , กล้วยไม้สกุลต่างๆ

ศัตรูธรรมชาติ: แมงมุมใยแผ่น Linyphia sp . (วิภาดา , ๒๕๓๙) นอกจากนี้ยังสำรวจพบ ตัวไรห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) ในสวนกล้วยไม้ด้วย

การป้องกันกำจัด ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ :
1. รวบรวมใบและช่อดอกที่ไรทำลายไปเผาเพื่อลดปริมาณของไรให้เหลือน้อยที่สุด

2. ในกรณีที่ไรเพิ่งเริ่มเข้าทำลาย ปริมาณไรที่อยู่ใต้ใบกล้วยไม้อาจยังมีไม่มาก อาจช่วยด้วยการฉีดพ่นน้ำ เพื่อให้ไร หลุดจากผิวใบและดอก

3. ควรปลูกหรือวางต้นกล้วยไม้ โดยเว้นช่องว่างระหว่างต้นให้ห่างกันพอสมควร โดยเฉพาะในกล้วยไม้ที่มีการแตก หน่อ หรือมีใบหนาแน่นมาก ทั้งที่เพื่อช่วยในการดูแลรดน้ำและการฉีดพ่นสารฆ่าไรให้เป็นไปได้อย่างทั่วถึง และลด ปริมาณการระบาดของไรลงได

4. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้เช่น ไม้ใบจำพวกเฟิร์นในเรือนกล้วยไม้ หรือถ้าปลูก ก็จำเป็นต้อง ดูแลรักษาเอาใจใส่ไม้ใบเหล่านี้ด้วย อย่าให้เป็นที่หลบซ่อนอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้

5. กล้วยไม่เก่าที่ปลูกมานานหรือหมดสภาพควรรื้อทิ้งหรือทำลายเสีย อย่าเก็บไว้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของไรศัตรู กล้วยไม้ได้

6.หากมีการระบาดของไรและจำเป็นต้องใช้สารฆ่าไรฉีดพ่น ควรฉีดสารเคมีให้ถูกด้านใต้ใบและช่อดอก เพื่อให้น้ำยา สัมผัส กับไข่, ตัวอ่อน และตัวแก่ให้มากที่สุด และควรสลับใช้กับสารฆ่าไรชนิดอื่นๆ ตามสภาวะที่เหมาะสมสารที่ใช้ ป้องกันกำจัดไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ที่ได้ผลดี แนะนำให้ใช้สารต่อไปนี้

- amitraz (Mitac 20% EC) อัตรา 20-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ ตัวอ่อน ละตัวแก่
- dicofol (Kelthane 1.8% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่า ตัวอ่อน และตัวแก่ (ห้ามใช้ขณะแดด จัดจะทำให้ ดอกไหม้)
- tetradifon (Tetradifon 7.5% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ และตัวอ่อน (ห้ามฉีดพ่นขณะแดดจัด จะ ทำให้ดอกไหม้)

**สาเหตุที่แนะนำให้ใช้สารฆ่าไรหลายชนิดฉีดพ่นสลับกัน ก็เพื่อป้องกัน การดื้อสารของไรไม่ให้เกิดขึ้นเร็วเท่าที่ควร**

อ้างอิงและภาพประกอบ
- กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการ-เกษตร. ๒๕๔๔. ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด PHYTOPHAGUS MITES AND THEIR CONTROL. กรุงเทพ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. น. ๘๑-๘๓. และเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ

ไรกาบใบกล้วยไม้ (Orchid leaf sheath flat mite)

ไรกาบใบกล้วยไม้ ถูก เรียกในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า Dolichotetranychus vandergooti (Oudemans) เป็นแมลงศัตรูกล้วยไม้ที่อยู่ในวงศ์ Tenuipalpidae (เท-นิว-พาล-พิ-ดี้) เช่นเดียวกับไรชนิดต่าง ๆ ลักษณะการจู่โจมเข้าจัดการเป้าหมาย ไรกาบใบกล้วยไม้ จะคอยหลบสายตาผู้ล่าโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบและลำต้นของกล้วยไม้ และดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณข้อของใบ เมื่อ ไรกาบใบกล้วยไม้ ดูดน้ำเลี้ยงไปได้สักระยะ ลักษณะข้อใบของเหยื่อที่ถูก ไรกาบใบกล้วยไม้ จู่โจมจะเริ่มมีสีน้ำตาลเกือบดำ เมื่อฉีกใบออกดู จะพบว่าบริเวณนั้นมี ไรกาบใบกล้วยไม้ เกาะตัวรวมกันเป็นกระจุกสีส้มหรือสีแดง อาการข้อดำที่เกิดจากการทำลายของ ไรกาบใบกล้วยไม้ นั้น มักพบในกลุ่มกล้วยไม้ สกุลหวาย แมงปอ และแวนด้าใบกลม
ภาพ ด้านซ้าย เป็นลักษณะของเอื้องโมกที่ถูก ไรกาบใบกล้วยไม้ เข้าทำลาย สังเกตุดูจะพบรอยสีน้ำตาลคล้ำ บริเวณโคนกาบใบคล้ายรอยไหม้ บริเวณนั้นหากฉีกใบออก เราก็จะพบ ไรกาบใบกล้วยไม้ อาศัยรวมตัวเป็นกระจุกอยู่บริเวณนี้นี่เองครับ

ส่วนนี้จะเป็นเรื่องความรู้เพิ่มเติมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของ ไรกาบใบกล้วยไม้ ครับ
ตัวเมีย - : ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย ๓๒๗.๙ ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย ๑๑๙.๔ ไมครอน ; ตัวมีลักษณะแบนยาวรี คล้ายลูกรักบี้ มีสีส้มสดใส มีตาเป็นจุดสีแดงอยู่ที่บ่าทั้งสองข้าง ; ระยางค์ปาก ( palp ) มี ๓ ปล้อง ; ลำตัวด้านสันหลัง บริเวณที่อยู่เหนือตำแหน่งขา๒คู่หลัง ไปจนถึงส่วนท้ายของลำตัว (hysterosoma) มีขนกลางหลัง (dorsocentral setae) จำนวน ๕ คู่ (ข้างละ๕เส้น) ; ขน๒คู่แรก สั้น และ ๓ คู่สุดท้ายยาว ; ด้านข้างลำตัวถัดจาก humeral setae เข้า มาภายในมี sublateral setae ข้างละ ๑ เส้น

ตัวผู้ - : ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย ๒๘๘.๙ ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย ๑๐๑.๔ ไมครอน ; ตัวแบนมีสีส้ม สดใสเช่นเดียว กับตัวเมีย แต่ตัวสั้นกว่า และลำตัวส่วนท้ายนับจากสองขาคู่หลังลงไป มีลักษณะ หักคอด แคบลงจนเกือบแหลม ; ปลายสุดของลำตัวมีอวัยวะเพศผู้ (aedeagus) เป็นเข็มแหลมยื่นออกไปยังส่วนท้าย ๒อัน ; taris ของขาคู่ที่๑ และ๒ เป็นขนแข็งเป็นลักษณะเป็นแท่งสั้นคล้ายกระบอง (rodlike setae) ๒ แท่ง ; ขนกลางหลังสั้น ; ขนด้านข้างลำตัว๒คู่ แรกสั้นแต่๓ คู่สุดท้ายยาว

เขตแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
      พบทำลายกล้วยไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในสภาพโรงเรือนที่อบร้อนและชื้น ในต่างประเทศ Baker และ Pritchard ( ๑๙๕๖) พบ ไรกาบใบกล้วยไม้ บนกล้วยไม้ในประเทศฟิลิปปินส์ และรัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา

วิธีป้องกันกำจัด

1) ควรหมั่นตรวจดูกล้วยไม้ในโรงเรือน และเมื่อได้กล้วยไม้ที่จัดหามาใหม่ ควรแยกไว้เพื่อตรวจดู ไรกาบใบกล้วยไม้ ที่ อาจติดมากับต้นกล้วยไม้ จนแน่ใจว่าปลอดจาก ไรกาบใบกล้วยไม้ หรือศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ จึงค่อยนำเข้าไปแขวนรวม ในโรงเรือน

2) เมื่อตรวจพบให้แยกกล้วยไม้ที่มี ไรกาบใบกล้วยไม้ ทำลายออกมาอย่าปล่อยให้อยู่ปะปนกับกล้วยไม้อื่น ๆ บางต้น ที่ถูกทำลายจนทรุดโทรมมากควรเผาทำลายเสีย เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ ไรกาบใบกล้วยไม้ ถ้าต้นกล้วยไม้มี อาการไม่มาก ก็สามารถใช้สารเคมี รักษาได้

3) การใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่น สามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารเคมีชนิดดูด ซึม เช่นสารในกลุ่มเมทโธมิล หรือ คาร์บาริล หรือกลุ่มสาร คาร์บาเมท(คาร์โบซัลเฟน) ซึ่งมีชื่อทางการค้าต่างๆกัน อัตราการ ใช้ควรใช้ตามคำแนะนำข้างฉลากขวด ระวังอย่าให้ละอองถูกตัวผู้ฉีด ควรฉีดพ่น 1-2 อาทิตย์ ต่อครั้งเพื่อ เป็นการป้องกัน หรือเมื่อมีการระบาดของ ไรกาบใบกล้วยไม้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น