นานาสาระกล้วยไม้

เรื่องราวกล้วยไม้จากต่างแดน

อัญมนีแห่งพงไพร


นี่ คือเรื่องราวของการค้นพบ การจำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน และการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟาแลนด์เขากวางอ่อน ต้นแบบที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสายพันธุ์นี้ ซึ่งได้ถูกค้นพบจากที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และทางผู้เขียนก็ไม่ได้พบอีกเลย นับจากนั้นเป็น เวลากว่า ๒๕ ปี
     ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ -๒๕๒๓ พ่อค้าแม่ค้ากล้วยไม้ป่าจำนวนเป็นโหลๆ ได้นำกล้วยไม้มาวางขายที่สนามหลวง บนฟุตบาทใต้ร่มเงาของกิ่งก้านต้นมะขามที่แผ่ร่มครึ้ม แถวลานด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง
ผู้ขายส่วนใหญ่เหล่านั้น ไม่ได้มาจากสวนกล้วยไม้ที่ใดที่หนึ่ง แต่พวกเขามาจาก ทุกสารทิศทั่วประเทศไทยทั้งโดยทางรถไฟ หรือรถโดยสารประจำทาง พร้อมกับกระสอบ หรือตะกร้าใส่กล้วยไม้ เพื่อนำมาขายยังตลาดนัดแห่งนี้
กล้วยไม้ที่นำมามีทั้งได้จากคนเก็บกล้วยไม้ป่าโดยตรง หรือเก็บจากต้นไม้ที่ถูกตัดโค่นเพื่อทำไม้ เพื่อการตัดถนน หรือจากต้นไม้ที่ถูกโค่นถางป่าเพื่อพื้นที่เพาะปลูก
      ผู้ขาย จะเริ่มขายตั้งแต่เช้ามืดของเช้าวันเสาร์ และไม่นานหลังจากนั้น บรรดานักเลงกล้วยไม้ผู้ที่หลงใหลกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ จะมาแย่งกันหาซื้อ และจับจองกล้วยไม้ป่าที่หายากหรือสวยเด่นก่อนที่ลูกค้าคนอื่นจะมาเห็นเข้า และเนื่องด้วยเป็นการค้าในกลุ่มเล็กๆ ที่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นศูนย์รวมชั้นยอดของกล้วยไม้ป่าที่หายาก ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อนที่ดีของผมท่านหนึ่ง คุณประวิทย์ ฉัตรลดา หนึ่งในผู้หลงใหลกล้วยไม้ ที่กระตือรือร้น เพื่อไปสนามหลวงทุกอาทิตย์ ในการเดินทางมาประเทศไทยในช่วงแรกๆ ครั้งหนึ่งของผม ประมาณปี พ .ศ. ๒๕๑๘ คุณประวิทย์ ได้เชื้อเชิญผมไปตลาดนัดกล้วยไม้ที่สนามหลวง เขาได้บอกผมถึงเรื่องที่ควรจะไปถึงที่นั่นก่อน ๗ โมงเช้า บางทีคุณประวิทย์อาจรู้ได้ว่าผมคงไม่กระตือรือร้นที่จะไปเช้าขนาดนั้น เขาจึงได้เล่าถึงข้อตกลงกับ ผู้ค้ารายหนึ่งที่จะคัดเก็บกล้วยไม้แปลก ๆ หรือมีลักษณะเด่นที่หายากไว้ให้เขา ซึ่งเขายินดีให้ราคาถึง ๓ เท่าของราคาปกติสำหรับกล้วยไม้เหล่านั้นซึ่งเก็บไว้ขายให้เขาเป็นคนแรก
และด้วยที่คุณประวิทย์ได้ชวนผมไปในครั้งนั้น เขาเสนอที่จะให้กล้วยไม้ที่ผมชอบหรือ น่าสนใจจากผู้ขายคนนั้น แต่ผมก็ไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงว่าจะพบอะไรเป็นพิเศษ จากการมาประเทศไทยเพียงปีละครั้ง
      เมื่อเราไปถึง แม่ค้ารายหนึ่งเป็นหญิงร่างเล็กแต่งตัวด้วยเสื้อผ้า เก่าดูมอซอ ก็โบกไม้โบกมือเป็นสัญญาณ ให้คุณประวิทย์ ในทันทีที่พวกเรามาถึง เมื่อเราไปถึงแล้ว เธอค่อยๆเปิดถุงกระดาษ สีน้ำตาล อย่างระมัดระวัง และยื่นฟาแลนด์ เขากวางอ่อนต้นหนึ่งที่กำลังติดดอกให้เราดู ซึ่งทั้งกลีบนอกและกลีบในมีสีแดงก่ำเป็นมัน ทั้งดอก ทั่วทั้งพื้นผิวดานหน้าและด้านหลังดอก ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีจุดแต้ม หรือลายบั้ง ใดๆบนสีพื้น
ภาพ: :ซ้าย ดร.เดวิด แอล โกฟ, ขวา คุณประวิทย์ ฉัตรดา
รูปทรงของดอก ก็บานผึ่งตึงเรียบทั้งดอกเหมือนฟอร์มของเขากวางอ่อนทั่วไป ก้านเส้าเกสรเป็นสีเหลือง บริเวณกลีบปากและแผ่นข้างกลีบปาก เป็นสี ขาว ... ทันใด ผมก็พูดโพล่งกับคุณประวิทย์ถึงข้อเสนอของเขา และผมก็อยากจะใช้มันแล้วในตอนนี้ เรื่องจึงจบลงที่ราคา๗๐๐ บาท หรือราวๆ๓๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นราคาค่อนข้างสูงสำรับกล้วยไม้ชนิดเดียวกัน ในขณะนั้นในเวลานั้นเองก็มีบรรดานักกล้วยไม้คนอื่นๆ เข้ามามุงดูและวิพากษ์วิจารเกี่ยวกับกล้วยไม้ต้นนี้ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจที่คนเหล่านั้นพูด จึงขอให้คุณประวิทย์แปล จึงได้ความว่าทุกคนต่างประหลาดใจ และพิศวง ไปกับสี และความงามที่หาได้ยากยิ่งของฟาแลนด์เขากวางอ่อน ต้นนี้
     ขณะนั้น ผมรู้สึกขึ้นมาว่า คุณประวิทย์ อาจจะเสียดาย และเศร้าสำรับข้อเสนอที่ได้มอบให้กับผม ซึ่งได้ตกลงซื้อและจ่ายเงินแก่แม่ค้าไปแล้ว ทั้งคงเป็นเรื่องที่ทำความยุ่งยากใจ แก่คุณประวิทย์ หากผมจะมอบคืนกลับไปให้เขา และเพื่อการแก้ปัญหาสำรับ สถานการณ์ที่น่าลำบากใจนี้ ผมจึงบอกเขาว่าเราจะเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยผมจะแบ่งหน่อหรือตะเกียงคืนให้เขาเมื่อมันโตขึ้นแล้ว ซึ่งผมจะนำมันมาให้ในการเดินทางมาประเทศไทยครั้งต่อๆไป
     ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ผมได้นำเขากวางอ่อนดอกแดงต้นนี้ เข้าร่วมในงานประกวดกล้วยไม้ระดับภูมิภาค ที่เมืองนิวยอร์ค และได้รับรางวัลเกียรตินิยม ระดับ Judges Commendation Award จากสมาคมกล้วยไม้อเมริกัน หรือ JC/AOS สำรับ กลีบดอกที่ไร้ลายประจุดใดๆ รวมถึงสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ดังคำอธิบายแจกแจงรายละเอียดของกล้วยไม้ที่ได้รับรางวัลดังนี้ : "มีสองดอก กับอีกหนึ่งดอกตูม บนก้านดอกหนึ่งก้าน สำรับต้นนี้ ปรากฏชัดว่าเป็นสายพันธุ์เพียงหนึ่งเดียวที่มีม่วงแดงเข้ม และมีสีจัดทั้งสองด้านของกลีบดอก"
กล้วยไม้ฟาแลนด์เขากวางอ่อน ดอกแดง ต้นนี้ จึงได้ถูกตั้งชื่อว่า สายพันธุ์ “ ประวิทย์ ฉัตรลดา” (Cultivar . Pravit Chattalada) เพื่อเป็นเกียรติ และยกย่องถึงแหล่งที่มาจากคุณประวิทย์ นั่นเอง



      ในระหว่างนั้น ทุกอย่าง ก็ไม่ได้เป็นไปด้วยดีเสมอไปนัก สำรับคุณกล้วยไม้ส่วนของประวิทย์ วันหนึ่ง ที่บ้านพักย่าน Armonk ในนิวยอร์ค เขาเข้าไปในโรงเรือน ในจังหวะเวลาพอดีที่นกตัวหนึ่งกำลังบินหนีไปสิ่งที่เหลืออยู่คือกระเช้า กล้วยไม้ใบหนึ่งที่ว่างเปล่า เป็นไปได้ว่ากล้วยไม้ในกระเช้าต้นนั้นอาจยังไม่ทันเจริญเติบโตได้ดีนัก จากความโชคไม่ดีของคุณประวิทย์ ทำให้ผมคิดที่จะขยายพันธุ์ฟาแลนด์เขากวางแดงต้นนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะต้องได้หน่อจากต้นแม่ เพื่อแบ่งไว้ให้คุณประวิทย์
ผมได้จัดการติดต่อไปยัง Mr. Maynard Michel ใน Berkeley รัฐ แคลิฟอร์เนีย เพื่อทำการชักนำต้นให้เกิดจากก้านดอกอ่อนในห้องในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อ โดยมีข้อตกลงจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ได้ให้กับเจ้าของ แล็ป เพื่อเป็นการจ่ายตอบแทน(ซึ่งผมเข้าใจว่า ภายหลังเขาคงขยายปริมาณ เพิ่มเติมอีกมากขึ้นกว่านั้น) ภายหลังผมได้นำหน่อนั้นกลับมาประเทศไทย ซึ่งคุณประวิทย์ได้ดูแลมันต่อมาจนเจริญเติบโต เป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณประวิทย์มีความคิดที่จะเลิกเลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจาก ปัญหา เรื่องคุณภาพน้ำที่แย่ลงที่บ้านของเขาและด้วยเหตุผลอื่นๆอีกส่วนหนึ่ง
และด้วยความที่คุณประวิทย์ ไม่สามารถละเลยฟาแลนด์เขากวางแดง ต้นนี้ซึ่งมีคุณค่า มากกว่าจะปล่อยทิ้งไป เขาจึงได้จัดการส่งมอบให้เพื่อนนักกล้วยไม้ คนหนึ่งที่เชียงใหม่ เพื่อรับเลี้ยงและดูแลต่อไป นั่นคือคุณ ชิเนนทร ทิพากรกานต์ นักกล้วยไม้ผู้เชี่ยวชาญ การปลูกเลี้ยงและเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ กล้วยไม้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ฟ้ามุ่ยเผือก สามปอยหลวง และสามปอยขุนตาน ที่มีรูปทรงและสีสัน งดงามหลากหลาย คุณชิเนนทรได้เป็นผู้ผสมเพื่อพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กล้วยไม้ทั้งสองชนิด จนได้ต้นมากมายหลายต่อหลายต้นในครอบครองที่มีลักษณะดีเด่นที่สุดอย่างไม่ ต้องสงสัย
     ด้วยความยินดีในความเอื้อเฟื้อ ครั้งนี้ คุณชิเนนทรได้ประสานงานกับคุณประวิทย์ ในการส่งกล้วยไม้ต้นนี้ขึ้นมาเชียงใหม่ และเนื่องด้วย คุณชิเนนทรเคยได้ยินเรื่องของฟาแลนด์เขากวางอ่อนแดงต้นนี้มาก่อน จึงได้ดูแลเป็นอย่างดีจนมันเจริญเติบโตเป็นเวลาหลายปี แต่ถึงกระนั้นก็ดีก็ยังดูไม่มีอนาคต สำรับฟาแลนด์เขากวางแดงต้นนี้ ที่จะขยายพันธุ์ด้วยการผสมเกสร ในต้นเดียวกันเพื่อติดฝัก ความพยามยามทั้งหมดดูไร้ผล ทั้งจากผสมของผมเอง Mr. Maynard Michel และคุณชิเนนทร ผมและบางทีพวกเขาเหล่านั้นด้วย ได้พยายามผสมข้ามชนิด กับกล้วยไม้ฟาแลนด์พันธุ์แท้ และลูกผสมชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จเลยแม้แต่ครั้งเดียว เราจึงลงความเห็นว่ามันน่าจะเป็นหมันและการขยายพันธุ์ที่ได้ น่าจะมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และ การชักนำให้เกิดต้นจากก้านดอก ในห้องปฏิบัติการ เท่านั้น

ตากาฉ่อ กับชื่อที่สับสน

ตากาฉ่อ (Kimgidium deliciosum )       (คิง-จิ-เดียม เด-ลิ-ซิ-โอ- ซัม)
     เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ อันน่าสับสนของกล้วยไม้จิ๋ว และ การพัฒนาลูกผสม ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum) กล้วยไม้ ชนิดนี้ มีความเป็นมาที่สุดแสนจะวุ่นวายสับสน ในการจำแนก ชนิดลักษณะตาม หลักอนุกรมวิธานพืช โดยความเห็นที่แตกต่าง ของบรรดานัก พฤกษศาสตร์แต่ละคน แต่เดิม กล้วยไม้ ชนิดนี้ เคย มีการใช้ชื่อต่างกันถึง ๑๑ ชนิด เปลื่ยนกลับไปมาใน ใน ๗ สกุล
     ๏ เรื่องราวเริ่มต้นขึ้น ในปี พ ศ. ๒๓๙๔ เมื่อ นาย Griffith ได้ จำแนก ตั้งชื่อสกุล กล้วยไม้ ชนิดใหม่ ในสกุล เอื้องกุหลาบ จาก ประเทศพม่า คือ Aerides decumbens ๒-๓ ปีต่อมา ในปี พ ศ. ๒๓๙๗ นาย Reichenbach ได้ตั้งชื่อ กล้วยไม้ อีกชนิดหนึ่งจาก เกาะชวา ประเทศ อินโดนีเซีย ในชื่อ Phalaenopsis deliciosa (ฟาแลนด์น็อปซิส เดลิซิโอซ่า) และในปี พ ศ. ๒๔o๕

เขาได้ตั้งชื่อ อีกสามชนิด คือ Phalaenopsis hebe( ฟาแลนด์น็อปซิส เฮเบ) จากเกาะชวา Phalaenopsis wightii ( ฟาแลนด์น็อปซิส วิทติอิ ) จาก ประเทศอินเดีย Phalaenopsis amethystima( ฟาแลนด์นอปซิส อเมทิสซิมา) จากเกาะสุมาตรา ซึ่งทั้งสามชนิด ต่อมาภายหลัง ก็คือ ตากาฉ่อ (Kingidium deliciosum) ซึ่งแต่ช่วงแรกได้ถูกตั้งชื่อไปเป็นชื่อต่างๆแตกต่างกัน

- ในปี พ ศ. ๒๔o๔ นาย Thwaites ได้นำ ตากาฉ่อ จากซีลอน มาตั้งชื่อ ในนามของ Aerides latifolia หนึ่งปีหลังจากนั้น นายThwaites และนาย Binnendilk ได้ ศึกษาจำแนก กล้วยไม้ ชนิดหนึ่งจาก ภูมิภาคมาลายา (ภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซียบางส่วน) และใช้ชื่อ ว่า Phalaenopsis bella

- เรื่องราว ของกล้วยไม้เล็กๆชนิดนี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมา อีก ๒๑ ปีให้หลัง เมื่อ นาย Bentham และนายHooker ได้ตัดสินใจ เสนอ ให้ ฟาแลนด์น็อปซิส วิทติอิ (Phalaenopsis wightii) ย้ายกลับเข้าไปอยู่ในสกุล กล้วยไม้ ม้าวิ่ง ( Doritis spp.) ซึ่ง สกุลนี้นาย Lindley แยกออกมาจาก สกุล กล้วยไม้ ฟาแลนด์น็อปซิส (Phalaenopsis spp.) ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๓๗๖



- กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง มีความแตกต่าง จากฟาแลนด์น็อปซิส คือ ส่วนของเส้าเกสรตัวผู้ที่ยาวกว่า และกลีบดอกคู่หลังซึ่ง เชื่อมติดกัน เป็นแผ่นเดียว อยู่กับส่วนฐานของโคนกลีบปาก ต่างจาก กล้วยไม้ สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส ซึ่งกลีบดอกล่างคู่ หลังตัวกลีบจะแยกกันเป็นสองกลีบ อย่างชัดเจน และที่แผ่นกลีบปากของม้าวิ่ง จะ เรียบมีรูปทรงเป็นสามแฉก ยื่นออก มา จากส่วนโคน ของส่วนที่เชื่อมติดกับเส้าเกสรตัวผู้ และที่แตกต่างเพิ่ม มานั้น คือ เกสรตัวผู้ ของ กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง จะมี เกสร ๔ ก้อน ในก้านเกสรหนึ่ง ชุด ในขณะที่ กล้วยไม้ สกุลฟาแลนด์ จะมี เกสรตัวผู้เพียง๒ ก้อนในก้านเกสรเท่านั้น ในบาง กรณี กล้วยไม้ สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส ในกลุ่มย่อย โพลี ไคลอส(sec.Polychilos) เช่น กล้วยไม้ ฟาแลนด์ เขากวางอ่อน จะมี เกสรตัวผู้ ๒ ก้อน เก็บแยกกันอยู่ในช่องใต้ฝาครอบเส้าเกสร โดยไม่มี ก้านเกสร


สาระคดีกล้วยไม้ไทย

ประวัติกล้วยไม้ไทย / วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย



วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย เรื่องโดย เรื่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์

     กล้วยไม้ เป็นพืชที่อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมากพอควร ทั้งนี้ เนื่องจากกล้วยไม้เป็นยาบำรุงจิตใจ ที่สามารถทำให้มนุษย์ซึ่งมีแต่ความเคร่งเครียดจากการงาน การดำรงชีวิต ได้รับการผ่อนคลาย จากการชื่นชมความงามของดอกกล้วยไม้ต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากล้วยไม้บางชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรได้อีกด้วยความงามของต้นใบ และดอกของกล้วยไม้นับว่ามีเสน่ห์เหนือกว่าดอกไม้อื่นใด สามารถดึงดูดความสนใจให้ใคร่อยากเป็นเจ้าของแก่ผู้ที่พบเห็น แม้จะเพียงชื่อก็ยังก่อให้เกิดจินตนาการ และให้ความรู้สึกถึงพีชดอกที่มีความสวยงามพิเศษแตกต่างกว่าพืชดอกชนิดอื่นๆ กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อดอกที่สวยงาม นอกจากจะทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีความภูมิใจแล้ว ยังเป็นที่นิยมชมชอบแก่ผู้พบเห็นเรียกว่า ทำให้เจ้าของพลอยมีหน้ามีตาไปกับกล้วยไม้ด้วย โดยทั่วไปกล้วยไม้ที่มีความงามเป็นพิเศษมักมีจำนวนน้อย ไม่พอต่อความต้องการจากเหตุผลดังนี้ จึงก่อให้เกิดวิทยาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ด้านต่างๆ ขึ้นไม่ว่าด้านการแบ่งจำแนกชนิดพันธุ์ หรือสกุลการปลูกเลี้ยง ตลอดจนการขยายพันธุ์และวิชาการด้านอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อการพัฒนาไปสู่ธุรกิจและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

ประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และบุคคลสำคัญในวงการกล้วยไม้ไทย
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ หมายถึง การนำกล้วยไม้มาปลูกในโรงเรือนที่สร้างขึ้น และปรับสภาพแวดล้อมอันได้แก่ แสงสว่าง ความชื้น อุณหภูมิตลอดจนการให้ปุ๋ย และยาป้องกันกำจัดโรคแมลงที่เหมาะกับกล้วยไม้แต่ละชนิด จากความหมายนี้มนุษย์ได้รู้จักการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มานานมากกว่า ๒๐๐ ปี เริ่มแรกโดยนักสำรวจพันธุ์ไม้จากทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษได้ออกสำรวจพันธุ์ไม้ในแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ได้นำกล้วยไม้สกุลแคทลียา (Cattleya spp.) และสกุลอื่นๆ ในดินแดนแถบนี้มาปลูกเลี้ยงที่ยุโรปทำให้มีเรือนกล้วยไม้ และธุรกิจกล้วยไม้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้นำกล้วยไม้จากเอเซียตอนใต้ไปปลูกเลี้ยง และพัฒนาพันธุ์ในยุโรปอีกด้วย จากการที่ประเทศอังกฤษ ได้อพยพคนจากอังกฤษไปยังอเมริกา คนเหล่านั้นก็ได้นำเอากล้วยไม ้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทำให้มีเรือนกล้วยไม้หลายแห่งเกิดขึ้นในอเมริกา และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมาในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฮอลันดาได้ปกครองอินโดนีเซีย และได้รวบรวม และศึกษาพันธุ์กล้วยไม้ของเอเซีย และได้มีการทดลองผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองโบกอร์ (Bogor) ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากของเอเซียในสมัยนั้น กล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงจากการผสมของสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ ส่วนมากจะเป็นสกุลหวาย และแวนด้า หลังสงครามโลกครั้งที่สองฮอลันดาได้มอบเอกราชให้อินโดนีเซีย หลังจากนั้นได้เกิดปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจจึงทำให้กิจการ และโครงการกล้วยไม้ ในสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ทรุดโทรมลงไปด้วย ปัจจุบันกล้วยไม้ลูกผสมที่เหลือจากสวนแห่งนี้ได้ถูก ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ กัน ต่อมาในแถบประเทศคาบสมุทรมลายูทำให้ได้กล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆ ที่บังเกิดประโยชน์ทางธุรกิจของมาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นอย่างมาก
มลรัฐฮาวาย - เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแห่งนี้นอกจากมีชนพื้นเมืองที่เป็นชาวเกาะแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่น และชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของหมู่เกาะฮาวายเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีน จึงสนใจที่จะปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้จบลง กิจการกล้วยไม้ที่ถูกผลกระทบจากสงคราม ได้เริ่มฟื้นตัว และในภายหลังกิจการกล้วยไม้ในหมู่เกาะแห่งนี้ ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกล้วยไม้พื้นถิ่นในสภาพธรรมชาติของฮาวายมีน้อยมาก ฮาวายจึงได้สั่งพันธุ์กล้วยไม้ป่า จากประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา ตลอดจนหมู่เกาะนิวกินี และออสเตรเลียเพื่อใช้ในการผสม และปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๘ คือ ประมาณสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจกล้วยไม้ ได้มีการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ ตลอดจนบัตรอวยพรส่งความสุข ทำให้วงการกล้วยไม้ของฮาวายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่สอง ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ณ.นครโฮโนลูลู ในระยะนั้นประเทศไทยนับว่าเป็นลูกค้าที่สั่งกล้วยไม้จากฮาวายเข้ามาปลูก เลี้ยงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีความคิดริ เริ่มที่จะผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองเอง ด้วยยังฝังใจว่ากล้วยไม้ต่างประเทศเท่านั้น ที่ควรค่าแก่การปลูกเลี้ยงในประเทศไทย

      สำหรับประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ได้เริ่มโดยชาวต่างชาติเมื่อประมาณ ๑๖๐ ปีก่อน คือ ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ ได้มีบันทึกไว้ว่า ได้มีเรือนกล้วยไม้ขนาดใหญ ่และมีการปลูกเลี้ยงอย่างถูกวิธี โดยการนำกล้วยไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมแบบในโรงเรือน ซึ่งป็นของนายเฮนรี่ อาลาพาสเตอร์ (ต้นสกุล เศวตศิลา) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกล้วยไม้ที่มี ชื่อเสียงมาก ต่อมาเมื่อท่านได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ได้รับช่วงกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ของนายอาลาพาสเตอร์ มาปลูกเลี้ยง และได้สะสมพันธุ์ต่างๆ เพิ่มเติมท่านได้ทำการผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ เหล่านั้นจนมีความชำนาญ และได้รับการยกย่องต่อมาว่าเป็นผู้มีฝีมือการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้อีกท่าน หนึ่ง การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทยได้พัฒนารูปแบบการปลูกเลี้ยงอย่างรวดเร็วจน ถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ได้มีผู้ทำกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมที่มีชื่อว่า มาดามปอมปาดัวร์ ปลูกกันแพร่หลายเป็นเรือนโรงกล้วยไม้ขนาดใหญ่หลายแห่ง เนื่องจากเลี้ยงดูง่ายเจริญเติบโตได้ดีในเขตพระนคร และสามารถให้ดอกได้เรื่อยๆตลอดปี ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มปลูกกล้วยไม้อย่างจริงจังในประเทศไทย แต่ งานด้านวิชาการต่างๆยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงของคนกลุ่มน้อย ไม่ได้แพร่หลายเหมือนปัจจุบันนี้อย่างไรก็ตามเมื่อก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทย มักจะกล่าวกันว่าเป็นงานหรือเป็นเรื่องของคนแก่ หรือผู้มีอันจะกิน ต่างคนก็ต่างปลูกเลี้ยงในบ้านของตนเอง มิได้มีการคบค้าสมาคมซึ่งกัน และกันปลูกกันผิดๆ ถูกๆ ทำให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงงามบ้างไม่งามบ้าง แล้วแต่ความสามารถในการดูแลรักษา ของแต่ละคนว่าเหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ที่ตัวเองปลูกมากน้อยเพียงใด ต่อมาหลังจาก พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้อิงวิชาการมากขึ้น ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ออกจากบ้านมาพบปะสังสรรค์ มีการคบค้าสมาคมร่วมกัน มีการแลกเปลื่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ถึงกับมีคำพูดในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ว่า “ผู้เลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้แบ่งชนชั้น เพศ วัย” หรืออาจจะพูดว่าคุณวุฒิ และวัยวุฒิจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมในวงการกล้วยไม้ไทย ต่อไป ในห้วงระยะเวลานี้ทำให้เกิด “คนดีศรีกล้วยไม้ไทย” ขึ้นสี่ท่านด้วยกันในสี่ท่านนี้เป็นชาวต่างประเทศหนึ่งคน ทุกคนได้ทำประโยชน์แก่วงการกล้วยไม้ไทย ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ
ท่านที่หนึ่ง และที่สองได้ทำงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยร่วมกัน สองท่านนี้คือ ท่านอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๕๓๘) และท่านไซเดนฟาแดน (Gunnar Seidenfaden) สองท่านนี้ได้ทำประโยชน์มหาศาลให้กับวงการกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะพูดว่าวงการกล้วยไม้โลกก็ว่าได้ ท่านได้ทำหน้าที่ในการสำรวจ จำแนก แบ่งแยกชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้พื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและรวมไปถึงกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิด และกระจายพันธุ์ในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เช่น ประเทศลาวเป็นต้น ผลงานร่วมกันของทั้งสองท่าน ได้ตีพิมพ์เป็น เอกสารวิชาการชื่อว่า “THE ORCHIDS OF THAILAND A PRILIMINARY LIST” รวบรวม และตีพิมพ์โดยสยามสมาคม ในปี พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๒ โดยงานในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้ซึ่งชนิดพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองของไทยทั้งหมดเท่าที่สำรวจพบใน ขณะนั้น และได้บอกถึงลักษณะต่างๆ ของกล้วยไม้พร้อมมีรูปวาดบรรยาย รายละเอียด ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพื้นเมืองตามที่ชาวบ้านใช้เรียกกล้วยไม้นั้นๆ แหล่งกำเนิดสถานที่ๆพบกล้วยไม้นั้นๆ ในธรรมชาติ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของท่านไซเดนฟาเดน คือเอกสารวิชาการ ชื่อว่า ORCHID GENERA IN THAILAN D ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ถึง ๑๔ และ CONTRIBUTION TO THE ORCHID FLORA OF THAILAND ๑๒ และฉบับที่ ๑๓ งานประจำของอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์ ของกรมป่าไม้ ส่วนท่าน ไซเดนฟาเดน เป็นเอกอัคราชฑูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย เนื่องจากทั้งสองท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกล้วยไม้ จึงได้รับการดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ นอกจากนี้ท่าน ไซเดนฟาเดนยังได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกด้วย

บุคคลที่มีความสำคัญต่อกล้วยไม้ไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ ท่านศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้นำกล้วยไม้ไทยให้นานาอารยประเทศได้รู้จัก โดยท่านได้อุทิศเวลาว่างส่วนตัวในการวางแผนวิจัย และหาทางพัฒนากิจการกล้วยไม้ไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้เป็นผู้เริ่มก่อตั้งสมาคมกล้วยไม้บางเขน จากเดิมเป็นชมรมกล้วยไม้บางเขน และได้สถาปนาเป็น สมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ และอีกสองปีต่อมา สมาคมได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์หลังจากนั้นท่านได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรมกล้วย ไม้ ในต่างจังหวัดได้เริ่มนำวิชาการกล้วยไม้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในปีพ.ศ.๒๕๐๔ โดยมีการเปิดสอนวิชากล้วยไม้ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จากนั้นได้เริ่มนำวงการกล้วยไม้ไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยท่านจะเป็นองค์ปาฐกในงานชุมนุมกล้วยไม้โลกทุกครั้งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นต้นมา จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านได้นำงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ ๙ มาจัดที่ประเทศไทยในป ีพ.ศ.๒๕๒๑ เนื่องจากท่านได้มีบทบาทในงานประชุมกล้วยไม้ต่างๆ จึงได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นกรรมการประสานงานงานกล้วยไม้ระดับโลก กรรมการอนุรักษ์กล้วยไม้โลก และกรรมการอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเกียรติของประเทศไทยทั้งสิ้น รวมทั้งที่ท่านได้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกด้วยท่านหนึ่ง คือ
คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ ท่านสำเร็จการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แต่ความรู้ความสามรถทางด้านกล้วยไม้อันเกิดจากการเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง นับว่ามีมากมาย ท่านเป็นนักธุรกิจกล้วยไม้ ผู้หนึ่งที่นำธุรกิจกล้วยไม้ของไทยสู่สากลให้มากยิ่งขึ้นกล่าวคือ อ่านได้นำสินค้ากล้วยไม้ไทยไปแสดงในต่างแดน ทำให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักกล้วยไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น และเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติท่านได้ นำพันธุ์กล้วยไม้จากต่างประเทศ ชนิดพันธุ์ใหม่ๆ นำกลับเข้ามาในไทยเพื่อให้ผู้ปลูกเลี้ยงชาวไทย ได้พัฒนาเพื่อนำกลับเป็นสินค้ากลับส่งขายออกไปยังต่างประเทศอีกครั้ง

ผลสืบเนื่องจากการติดต่อกับชาวต่างชาติทำให้ธุรกิจ กล้วยไม้ได้ขยายกว้างขึ้นผลอันนี้ทำให้การพัฒนากล้วยไม้ไทยได้ ดำเนินการไปเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง และทำให้เกิดนักธุรกิจด้านกล้วยไม้รุ่นหลัง ๆ อีกหลาย ๆ คน จากความสามารถความดีที่คุณทองหล่อ ได้ทำให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในด้านธุรกิจนี่เอง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มอบมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ท่านทั้ง 4 ท่านที่ได้กล่าวมานี้เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทย จะเห็นได้ว่าแต่ละท่านทำงานให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในแต่ละด้านโดยงานต่างๆ ที่แต่ละท่านทำแทบจะไม่ซ้ำซ้อนกันเลย จากการที่ทั้ง 4 ท่านได้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทยขึ้น ทำให้เกิดนักวิชาการด้านกล้วยไม้ นักธุรกิจกล้วยไม้ ตามมาเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระงานของทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างมาก

กล้วยไม้ไทยแห่งไพรพฤกษ์ เรื่องโดย: ชนินทร์ โถรัตน์



      ในบรรดาพืชมีดอกวงศ์ต่างๆในโลกนี้ ราวๆ 25,000 ชนิด กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ประมาณกันว่าจำนวนชนิดของกล้วยไม้ที่มนุษย์ รู้จักกันแล้วอาจมีมากถึง 30,000 ชนิด กล้วยไม้เป็นหนึ่ง ในบรรดาพืชพรรณ ที่มนุษย์รู้จักและให้ความสนใจมากที่สุด ด้วยความสวยงามโด่ดเด่น และความหลากหลาย ของรูปร่างลักษณะอันน่ามหัศจรรย์เกินกว่า พืชชนิดใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ความหลายหลายทางชีวลักษณ์รวมทั้งความสามารถในการขยายพันธุ์สูงสุดในอาณาจักร พืช และด้วยความจริงที่ว่ากล้วยไม้ไม่สามารถปรับตัวจนสามารถเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ในการดำรงชีพขณะที่พืชอื่นๆอีก หลายชนิดไม่สามารถทำได้และสูญพันธุ์ ไปก่อนหน้านี้แล้ว
      อาจเป็นเรื่องจินตนาการได้ยาก เมื่อเราได้ฟังข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเซียอาคเนย์นี้ บนต้นไม้ต้นเดียวกันเราอาจพบกล้วยไม้สกุลBulbophyllum ที่มีขนาดต้นใหญ่กว่า หัวเข็มหมุดเพียงเล็กน้อย และหนักไม่ถึง 1กรัม ในขณะที่เลยสูงขึ้นไปบนคาคบไม้เดียวกัน อาจมีกล้วยไม้ในสกุล Grammatophyllum ที่มีลำต้นสูงกว่า 5 เมตร และหนักทั้งกอ รวมกันมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นอยู่ และยิ่งฟังดู ก็ยิ่งเหลือเชื่อที่มีกล้วยไม้ในสกุล Epipactisขึ้นอยู่ในน้ำในขณะที่กล้วยไม้อีกหลายชนิดขึ้นอยู่บนลานหินอันร้อน ระอุ ตามยอดเขา
     กล้วย ไม้สกุล Vanilla และGaleola บางชนิดมีลำต้น เป็นเถาเลื้อยไต่ไปตามต้นไม้ใหญ่ในป่าได้ไกล หลายสิบเมตร ในขณะที่ กล้วยไมสกุล Chilochista และ Taeniophyllum กลับไม่ปรากฏใบหรือต้น ให้เห็นชัดเจนแต่จะมีเพียงกระจุกรากติดตามเปลือกไม้ส่ง ดอกย้อยลงมาดูแปลกตายิ่งนัก ประเทศไทย เป็นดินแดนที่ครอบครองความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยที่ตั้ง และลักษณะทางสภาพทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศที่ เอื้ออำนวยให้มีป่าไม้อัน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ต่าง ๆ โดยครอบคลุมชนิดพันธุ์ทั้งสัตว์ และพืชที่แพร่กระจายมาจากเขตภูมิภาคต่าง ๆ โดยรอบ กอรปกับที่ตั้งของประเทศไทย เป็นเสมือนจุดบรรจบ ของพรรณพืชจากทุกเขต



     กล้วยไม้นับเป็นหลักฐาน สนับสนุนคำดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิดมักมี อาณาเขตการกระจายพันธุ์ ไม่กว้างขวางเมื่อเทียบกับพืชพรรณ กลุ่มอื่นๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกล้วยไม้ หลายชนิดที่พบมากแถบ เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน รวมถึงเทือกเขาอันนัม ของประเทศเวียตนาม ส่วนทางภาคใต้ และภาคตะวันออก ก็พบ กล้วยไม้ที่มีอยู่ ในภูมิภาคอินโดมลายัน เป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าในขณะเดียวกันในประเทศไทยก็มีกล้วยไม้หลายชนิดเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (Endemic Species) ซึ่งไม่พบในที่อื่นใดอีก จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจพบพืชวงศ์กล้วยไม้ ในประเทศไทยแล้วประมาณ 1,170 ชนิดในจำนวนนี้กว่าครึ่ง จัดเป็นพรรณไม้หายาก และอีกหลายร้อยชนิดแทบจะไม่มีการพบเห็นอีกเลย
     เนื่องจากพืชวงศ์กล้วยไม้ มีความหลากหลายทางสรีระอย่างมาก และมีลักษณะวิสัยในการขึ้นอยู่ตามแหล่งธรรมต่าง ๆ กันไป จนทำให้ยากต่อการจำแนกหรืออาจสับสนกับพืชในวงศ์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน และปัญหา พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายไปอย่างมาก ทำให้ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของกล้วยไม้ลดลงไปทุกขณะ ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เปลื่ยนแปลงไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดำรงชีวิตของกล้วยไม้ จนทำให้ในอนาคตกล้วยไม้หลายชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ไปจากประเทศไทยและจากโลกก็เป็นได้


บทความแยกความแตกต่างกล้วยไม้ที่มีลักษณะคล้ายกันในกลุ่มเด๋วกัน

เอื้องสามปอย

orchidtropical
     ปอย เป็นคำพื้นเมืองของชาวเหนือ ซึ่งใช้เรียกงานประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานบุญ ในฤดูของงานปอยนั้นมักจะ จัดขึ้นในช่วงต้นของฤดูร้อนและในบางครั้งอาจ ยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่กล้วยไม้ชนิดหนึ่งให้ ดอกผลิบานส่งกลิ่นหอมอบอวนอยู่พอดี หญิงสาวชาวเหนือจึงเด็ดดอกของกล้วยไม้ที่หอมรัญจวนนี้ นำมาเหน็บ ประดับติดไว้กับมวยผมของตน กล้วยไม้ชนิดนี้จึงถูกขนานนามโดยชาวเหนือว่า สามปอย ซึ่งมีความหมายคือ เอื้อง อันงดงามที่เบ่งบานได้ยาวนานตลอดยามงานปอยทั้งสามฤดูของพวกเขานั่นเอง
     สามปอยเอื้องเมืองเหนือที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของกลิ่นหอมเย้ายวน มันจึงเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในต่างประเทศสามปอย และลูกผสมจากสามปอยเป็นกล้วยไม้สีเหลืองยอดฮิต ติดตลาดรองจากฟ้ามุ่ยและลูกผสมของฟ้ามุ่ย และสายพันธุ์แท้นี้ก็ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มันเป็นที่จับตา มองของเหล่านักเลี้ยงกล้วยไม้ต่างชาติหลายคน เหล่าผู้คนแดนตะวันตกจึงต่างพากันอิจฉาเมืองร้อนอย่างไทยเรา ที่มีสามปอยหลากหลายสายพันธุ์ไว้ครอบครอง
     ผมได้เดินทางไปสืบเสาะหาสามปอยหลากหลายพื้นที่ และได้ ฟังเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสามปอยจากนักเลี้ยงกล้วยไม้ ระดับเซียนสามปอยเก่าแก่หลายคน หนึ่งในนั้นคือคุณชิเนนทร เซียนสามปอยที่มีชื่อเสียงในเชียงใหม่มายาวนานมากกว่า ๕๐ ปี ท่านได้เล่าเรื่องความหลังเกี่ยวกับสามปอยและแยกลักษณะสาม ปอยแต่ละสายพันธุ์ให้ผมฟัง

     สามปอยนก หรือที่ถูกเรียกในนาม สามปอยหางปลา เป็นสามปอยที่มีขนาดเล็กที่สุด กลีบดอกทั้งห้ากลีบเล็กเรียวและส่วนกลีบดอกที่ดูคล้ายปีกนั้นบิดลู่ ราวกับนกที่กำลังโผบิน พื้นดอกนั้นหากเพ่งดูดี ๆ แล้วบางต้นจะพบลายตารางที่เรียกว่าลายสมุกอยู่ สามปอยชนิดนี้มีกลิ่นหอมเบา ๆ เท่านั้น เมื่อลองมองมาที่ปากของดอกสามปอยชนิดนี้จะพบว่าที่ปลายสุดของปากจะมีลักษณะ คล้ายกับหางปลา และเมื่อลองไล่ย้อนไปตรงโคนของปากจะพบสีชมพูเรื่อ ๆ อยู่ ดอกของพวกมัน มีทั้งสีน้ำตาลแดง สีแดงสด และสีเขียวหรือเหลือง ซึ่งในศัพท์นักเลี้ยงกล้วยไม้เรียกชนิดที่มีสีเขียวนี้ว่า "เผือก" ก้านช่อของ สามปอยนก นั้นยาว แต่ดอกที่อยู่บนก้านช่อนี้จะห่างจากกันค่อนข้างมาก ในก้านช่อจะประกอบไปด้วยดอกเล็ก ๆ ราว ๆ ๑o-๒o ดอก "ลักษณะที่ดีของ สามปอยนก จะต้องมีดอกที่ถี่ช่อแน่น ก้านดอกสั้นกว่าปรกติ หากเป็นไปได้มีขนาด ดอกที่ใหญ่ด้วยจะยิ่งดีเลิศ” คุณชิเนนทรกล่าว



      เนื่องจาก สามปอยนก หรือ สามปอยหางปลา นั้นมีขนาดเล็ก สามปอยชนิดนี้จึงไม่ค่อยได้รับการพัฒนาสายพันธุ์เท่าที่ควร จึงไม่มีลูกผสมที่เกิดจากสามปอยชนิดนี้

ครั่งสั้น ครั่งยาว สายหลวง แตกต่างกันอย่างไร

คิดว่าหลายท่านที่กำลังปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ใหม่ คงมีคำถามค้างคาใจว่า เอื้องสายน้ำครั่งสั้น เอื้องสายน้ำครั่งยาว เอื้องสายหลวง สามชนิดนี้ต่างกันตรงไหน บทความนี้ผมจะพาไปหาคำตอบกันครับ

1. สายน้ำครั่งสั้น สายครั่ง กล้วยไม้ชนิดนี้ ลำจะมีขนาดสั้นสมชื่อครับ ขนาดลำอวบและงอ แต่บางต้นหากได้รับแสงน้อย ๆ ลำจะเล็กผอมเลยดูคล้ายสายหลวงไป แต่เมื่อออกดอก ก็จะรู้ได้ทันทีครับ ลองดูภาพสายน้ำครั่งประกอบกันดูนะครับตามด้านล่างนี้

2. เอื้องสายหลวง กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นเอื้องสายที่มีลำขนาดใหญ่ กอใหญ่ ให้ดอกสีชมพูหวาน บางต้นก็เป็นสีชมพูซีด ๆ ครับ หากเห็นขนาดลำแล้วผมว่าน่าจะแยกได้ไม่ยาก นะครับ ลองดูภาพประกอบด้านล่างดูกันครับ

3. เอื้องสายม่วง หรือ เอื้องสายครั่งยาว กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงไม่ยาก แต่ให้ดอกพลู ๆ ในที่ร้อน ๆ ค่อนข้างยาก เป็นกล้วยไม้ที่หายากในธรรมชาติ ลักษณะจะแตกต่างจากสายน้ำครั่งและสายหลวงอย่างชัดเจน พื้นดอกเป็นสีม่วง บางชนิดมีสีม่วงแกมแดงครับ ในขณะที่ สายหลวงจะมีพื้นสีเป็นสีกาบัว คือ สีชมพู ส่วนสายน้ำครั่งก็จะออกสีม่วง ๆ แดง ๆ ถ้าดูแล้วจะนึกภาพตามออกเลยครับ เพราะสีต่างกันจริง ๆ และดอกของ ครั่งยาว ปากของเค้าจะมีตากลม ๆ อยู่กลางปากเพียงตาเดียวเท่านั้นครับ ลักษณะลำจะคล้ายกับเอื้องเมี่ยง มีลักษณะสีดำ หลายคนชอบหลอกเอาเอื้องเมี่ยงมาขายบอกว่าเป็นเอื้องครั่งยาวก็มี ลองดูภาพประกอบกันครับ

4. ลูกผสม (สายน้ำครั่ง x สายหลวง) หรือ เนสเตอร์ เนสเตอร์เป็นลูกผสมระหว่างสายหลวงและสายน้ำครั่ง สลับคู่ยังไงก็ยังได้ชื่อเดิมว่าเนสเตอร์ครับ เนสเตอร์มีลักษณะดอกคล้ายคลึงกับสายน้ำครั่งมาก มือใหม่ ๆ คงยากที่จะแยกออก แต่พอเล่นกล้วยไม้ ไปได้สักพักจะสังเกตุเห็นง่าย ๆ เลยว่าเนสเตอร์กับสายน้ำครั่ง ต่างกันยังไง ลองดูภาพประกอบกันครับ

หมดเพียงเท่านี้ ลองเลื่อนภาพขึ้น ๆ ลง ๆ ประกอบดุนะครับ คิดว่าสังเกตุไม่ยาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ


กล้วยไม้สกุลต่างๆ

กล้วยไม้สกุลช้าง Rhychostylis



     คุณ.....เคยสงสัยไหมว่า ? นอกจากเอื้องช้างที่มีดอกเป็นพวงสวยดั่งพวงมาลัยแล้ว ยังมีกล้วยไม้ชนิดไหนอีกที่อยู่ ในสกุลช้าง ลองมาคุยกันครับ วันนี้ผมจะพาคุณไปรู้จักกับ กล้วยไม้สกุลช้าง มากที่สุดเท่าที่มากได้ กล้วยไม้สกุลช้าง ถูกจดบันทึกในชื่อสกุลของชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis (ริง-โค-สไตล์-ลิส) มันมีความหมายแยกตามคำได้ดังนี้ Rhyncho หมายถึง จงอย และ Stylis หมายถึง เส้าเกสร เมื่อนำสองคำมารวมกันมันจะหมายถึง กล้วยไม้ชนิดที่มีเส้า เกสรคล้ายดั่งจงอยปากนกนั่นเองครับ
     ในป่าธรรมชาติของประเทศไทยเราพบกล้วยไม้สกุลช้างอยู่ ๓ ชนิด คือ อะไรบ้างนะเหรอ ค่อย ๆ เลื่อนเม้าตามผม มาได้เลย!



      กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดแรกที่ผมจะพาไปทำความรู้จักคือ เอื้องเขาแกะ ครับ ในครั้งเริ่มต้นเลี้ยงกล้วยไม้ผมว่าคุณ อาจจะไม่ทราบเลยก็ได้ว่าเจ้าเขาแกะก็ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของ กล้วยไม้สกุลช้าง เช่นเดียวกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ของ เค้าคือ Rhynchostylis coelestis ด้วยลักษณะเค้าโครงใบของเค้าที่เป็นรูปร่างโค้งงอสลับกันไปนี่แหละครับกลายมา เป็นที่มาของชื่อ เอื้องเขาแกะ กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดนี้มีลักษณะนิสัยทนแล้งได้ดี ขึ้นตามโปร่งผลัดใบ บางครั้งผมก็ เห็นเค้าขึ้นได้แม้กระทั่งต้นไม้ที่ยืนต้นตาย เบ่งร่างผงาดทรวดทรงปะทะแดดจัง ๆ แต่ก็ยังอ้วนพลีทีเดียวครับ เหลือเชื่อ จริง ๆ โดยทั่วไปแล้ว เอื้องเขาแกะ จะมีสีของดอกเป็นสีบลู หรือ สีน้ำเงิน ไล่ไปจนถึงน้ำเงินซีด ๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็พบว่ามี เอื้องเขาแกะ อีกชนิดหนึ่งที่มีสีแตกต่างออกไปอีกคือ สีแดง หรือ สีชมพู เราเรียก เขาแกะ ที่มีดอกสีแดงนี้ ว่า เอื้องเขาแกะแดง หรือ เอื้องเขาแกะชมพู ในธรรมชาติสีแดงและสีชมพูเข้มจัด ๆ หายากมาก มักจะเจอสีน้ำเงินที่ ออกเรื่อ ๆ แดงเพียงนิดหน่อยเสียส่วนใหญ่ และยังมีอีกสีที่หายากยิ่งกว่า คือ สีขาวล้วนบริสุทธิ์ผุดผ่อง เราเรียกสีนี้ ว่า เอื้องเขาแกะเผือก ลักษณะของ กล้วยไม้สกุลช้าง เขาแกะ ที่ไร้สีนี้ ว่ากันง่าย ๆ คือเค้าพิการสีนั่นเองครับ ด้วยสี สันที่ไม่ค่อยได้พบเจอบ่อยนัก มันจึงเป็นเรื่องแปลกตาที่เราได้เห็นกับ เอื้องเขาแกะ ที่ออกขาวโพลน แน่นอน ราคาของ มันก็คงต้องเพิ่มจากสีธรรมดาทั่วไปขึ้นไปอีกเท่าตัว ! เอาละ ค่อย ๆ เลื่อนเม้ามาต่อกับ กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดต่อมา กันครับ



      ถ้าเอ่ยถึง กล้วยไม้สกุลช้าง ที่ให้ช่อยาวที่สุดและเป็นกระบอกพวงสวยที่สุด ผมคงยกให้กับกล้วยไม้ชนิดนี้ครับ"ไอยเรศ" นักพฤกษาศาสตร์จัดให้เจ้า ไอยเรศ เป็นกลุ่ม กล้วยไม้สกุลช้าง ที่มีนามว่าRhynchostylis retusaด้วยช่อดอก ที่เป็นพวงยาวได้เกือบ ๒ เมตร กล้วยไม้ชนิดนี้ยังได้รับชื่อสมยานามอีกชื่อด้วยว่า "พวงมาลัย" ในต่าง ประเทศ ไอยเรศ ถูกขนาดนามในชื่อของ Foxtail ซึ่งหมายถึง หางของสุนัขจิ้งจอก ที่มาของชื่อคงเป็นเพราะช่อพวงของ ไอยเรศนั้นดูสวยงามราวกับพวงของหางจิ้งจอกก็เป็นได้ ลักษณะต้นของไอยเรศนั้นมีลำต้นที่ใหญ่คล้ายกับช้าง แต่ ใบของ ไอยเรศ กลับแคบและเรียวกว่า ในทางใต้เราจะพบว่าไอยเรศมีใบที่แหลมเรียวเล็กในขณะที่ทางเหนือใบของ ไอยเรศจะกว้างและดูหนากว่า และที่น่าแปลกใจ ไอยเรศ ทางทิศตะวันตกดูเหมือนจะเป็นสายพันธุ์ที่ถูกกล่าวขานกัน ว่ามีดอกสวยที่สุด !
     ดอกของ ไอยเรศ นั้นมีเพียง 2 แบบเท่านั้น คือ ลายกระแดงกับสีขาวล้วน ส่วนไอยเรศแดง เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกของ ไอยเรศ อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโคนใบเป็นสีแดงคล้ายกับช้างแดง แต่ดอกของเค้านั้นกลับลายกระเช่นเดียวกับต้น ทั่วไป สีแดงที่สุดที่พบนั้น จะเป็นเพียง ไอยเรศ ที่มีลายกระมากเป็นพิเศษ ลายกระนี้จะปะติดปะต่อกันจนกลายเป็น ลายแดงขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่แดงหมดทั้งดอกอยู่ดี ไอยเรศแดง จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่มีตัวตน ไอยเรศ ที่หายากที่สุดดู เหมือนจะเป็น ไอยเรศเผือก แต่ปัจจุบันสามารถผสมให้ กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดนี้มีสีเผือกได้แล้วโดยไม่ต้องหาจากป่า ธรรมชาติ ไอยเรศเผือก จึงมีล้นหลามให้เห็นทั่วไป
      ปัจจุบัน ไอยเรศถูกนำมาผสมกับ ช้าง เพื่อให้ได้ช่อที่ยาวเหมือนไอยเรศ และมีกลิ่นหอมดอกใหญ่เหมือนกับช้าง ลูก ผสมนี้เรียกกันในชื่อของ ช้างช่อชลูด แม้ช่อจะยาวขึ้นและมีกลิ่นหอมเหมือนกับช้าง แต่ทว่า ช้างช่อชลูด ก็ยังต้องพ่าย แพ้ตกเวทีให้กับช้างแท้ ๆ อยู่ดี แน่นอนละครับ ศัลยกรรม มักแพ้ ของแท้ เสมอ !



      กล้วยไม้สกุลช้าง ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คงหนีไม่พ้น กล้วยไม้ช้าง อย่างแน่นอนครับ ช้าง เป็นสัตว์สี่เท้า !! เอ๊ะ ไม่ ใช่ ! ช้าง เป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในบ้านเราก็ว่าได้ ด้วยลักษณะดอกที่ให้ช่อเป็นพวงยาวสวย ประ กอบกับมีกลิ่นหอมแรงเป็นพิเศษ อีกทั้งยังมีสีสันมากมายล่อตาล่อใจเช่นเดียวกับขนมหวาน มันอาจเป็นกล้วยไม้ชนิด แรก ๆ ที่ล่อตาล่อใจผู้คนมากมายให้ลุ่มหลงจนกระทั่งรู้ตัวอีกที ก็เป็นโรคเสพติดกล้วยไม้จนถอนตัวไม่ขึ้นแล้วก็เป็นได้ ครับ ชื่อวิทยาศาสตร์ของ กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดนี้คือ Rhynchostylis gigantea มันเป็นชื่อแรกเลยที่ผมจำได้ คำว่า gigantea หมายถึง ใหญ่มาก รวมกับความหมายของ ริงโค เข้าไปได้ความหมายใหม่ว่า กล้วยไม้ที่มีจงอยปากเหมือน นกที่ใหญ่มาก นั่นเองครับ อ้อ ลืมบอกไป ช้าง ยังมีอีกชื่อหนึ่งเรียกกันว่า เอื้องต๊กโต นั่นเองครับ
     นอกจากนี้ยังมีเอื้องช้างอีกหนึ่งชนิด ลักษณะลำต้นของ กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดนี้จะใหญ่มากเป็นพิเศษ แตกต่างจาก กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดอื่น ๆ มันมีใบ ที่หนาอวบ และซ้อนกันเป็นชั้นสวยงาม ลำต้นแข็งแรงมาก ในทางเหนือ เราจะพบช้างอีกชนิดที่มีลำต้นพิลึกกึกกือ เรียกกันว่า ช้างค่อม มันมีใบที่ซ้อนกันเป็นรูปตัว V ซึ่งเมื่อครั้งก่อนนู้น ช้างค่อมแทบไม่มีราคาอะไรเลย จนกระทั้ง ปัจจุบัน ราคาช้างค่อมกลับสูงกว่าช้างทั่วไปมากมายนัก ในทางพฤกษาศาสตร์ ได้มอบชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับเจ้าช้าง ค่อมเช่นเดียวกัน เรียกกันในชื่อ อิลัสเตอร์ (Rhynchostylis gigantea var. illustre) 



      แต่เดิม สีสันของ เอื้องช้าง มีเพียง ๓ สี เท่านั้น คือ แดง กระ และ เผือก แต่ด้วย กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดนี้ได้ถูกพัฒ นาเรื่อยมาอย่างไม่หยุดหย่อน สีสันของพวกมัน จึงมากมายหลากหลายผ่าเหล่ามากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน เรามีสีสันของ ช้างมากมายเกินจินตนาการ แม้กระทั่งสีม่วง หรือ สีเขียว ก็ยังปรากฏให้เห็นแล้ว และคาดว่าในอนาคต อาจจะมีสีสัน แปลกใหม่ออกมาอีกมากมายยิ่งขึ้น นี่ก็เป็นอีกข้อดีอีกข้อหนึ่งที่เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ ยิ่งหากมีการ สนับสนุนสวนกล้วยไม้มากเท่าไหร่ การพัฒนาก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น การคัดสรรค์โดยมนุษย์ ทำให้เกิดสีสันแปลก ใหม่มากมาย และสวยงามขึ้น กล้วยไม้ป่า อาจจะสวยแบบดั้งเดิม แต่ทว่า จะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาสนใจกล้วยไม้ พัฒนาสายพันธุ์ ที่สวยงามและทรงคุณค่าอีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าไทยให้อยู่ยิ่งนาน คู่บ้านคู่เมืองไปอีกนาน .....อ๊ะ ! ยังไม่จบ มีต่ออีกนิดหน่อย เลื่อนลงไปดูกันเลยครับ !



      ในแถบประเทศฟิลิปปินส์มี กล้วยไม้สกุลช้าง ที่มีน่าตาเหมือนเปี๊ยบกับช้างและไอยเรศบ้านเราเลยละครับ ทั้ง สองชนิดเรียกว่า ไอยเรศฟิลิปปินส์ ( Rhynchostylis praemorsa ) และ ช้างฟิลิปปินส์ ( Rhynchostylis violacea ) ซึ่ง ผมก็ไม่ทราบข้อมูลแน่ชัด แต่ถ้าให้เดาละก็ ทั้งสองชนิดก็คือ กล้วยไม้สกุลช้าง ที่กระจายพันธุ์อยู่ในแถบฟิลิปปินส์ นั่นละครับ เพียงแต่ ไปอยู่ประเทศ ฟิลิปปินส์ ก็เลยได้ชื่อประเทศต่อท้ายไป โดยรวมแล้ว น่าตาเหมือนกับ ไอยเรศ และ ช้าง บ้านเราทุกทุกประการ แต่ดูเหมือน ช้างจะว่ากันว่า ตรงสันปากมีเส้นอยู่ ๕ เส้น แต่ของบ้านเรามีเพียง ๒ เส้น อัน นี้ต้องให้เพื่อน ๆ ที่มีเจ้าช้างฟิลิปปินส์ช่วยสังเกตุหน่อยแล้วละครับว่าจริงหรือเปล่า ! ? 

กล้วยไม้สกุลแวนด้า Vanda



      หากเอ่ยถึง แวนด้า คงเป็นไปได้ยากที่จะไม่มีใครรู้จัก อย่างน้อย ๆ เราก็ต้องรู้จักกับเจ้าเอื้องฟ้ามุ่ย กล้วยไม้สกุล แวนด้า ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และกลายเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มากที่สุดก็ว่าได้
     แวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในประเภท "โมโนโพเดี้ยล" ครับ หมายถึง เป็นกล้วยไม้ที่ ไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตไปทางยอด ลักษณะทั่วไปของ แวนด้า คือ รากเป็นรากอากาศ ใบของ แวนด้า นั้นมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบจะเรียงตัวซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอก แวนด้า นั้นยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีสั้นของดอก แวนด้า เราอาจพบเห็นได้มากที่สุดคือ สีน้ำเงินเข้ม สีครามอ่อน สีชมพู สีเหลือง หรือแม้กระทั้งสีเขียว หรือ ดำก่ำ และยังมีอีกมากหมายหลายสีขนาดที่ว่าหากเดินหลงเข้าดงของดอก แวนด้า แล้วมันไม่ต่างอะไรจากบ้านขนมหวานของฮันเซลและเกรเทลทีเดียว !


♠ ภาพ ลักษณะใบของ แวนด้า
     ในโลกนี้ เราในฐานะชาวเอเชีย อาจเป็นผู้ที่โชคดีที่สุดก็ว่าได้ เพราะเราพบว่า แวนด้า ได้เติบโตและแพร่กระจายพันธุ์ในธรรมชาติของเอเชียราว ๆ ๔๐ ชนิด หากเราได้มีโอกาสไปยังประเทศ อินเดีย เราอาจจะได้พบกับ แวนด้า เทสเซลาต้า กล้วยไม้ที่ขึ้นชื่อว่าใกล้สูญพันธุ์และกลิ่นหอมแรง หรือ แวนด้า ไตรคัลเลอร์ ที่มีสีสันถึงสามสีบนพื้นดอกเดียว เมื่อลองสำรวจบนผืนเกาะฟิลิปินส์เราก็จะได้พบกับต้นกำเนิด แวนด้า สองสีหรือทูโทนอย่างเจ้า แวนด้าแซนเดอเรียน่า กล้วยไม้ที่ขึ้นชื่อบัญชีว่าเป็นกล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และเป็นพันธุ์ไม้ที่หวงแหนที่สุดของฟิลิปินส์ และในไทย เราเองก็มี แวนด้าฟ้ามุ่ย กล้วยไม้ที่ได้รับการยอมรับว่าสวยมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก นอกจากนี้ แวนด้ายังกระจายพันธุ์กว้างขวางไปตามประเทศต่าง ๆ อีก เช่น ศรีลังกา พม่า อินโดนีเซีย รวมไปถึง ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ
     ในปัจจุบัน แวนด้า ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจำแนกประเภทของ แวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น ๔ ประเภท คือ
 แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ ๒ - ๓ ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
 แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก เป็น แวนด้า ที่ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน
 แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
 แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน กล้วยไม้กลุ่มนี้พบว่าเป็นหมันเสียส่วนใหญ่ จึงพบว่ามีจำนวนในธรรมชาติน้อยมาก


♠ ภาพ เข็มขาว กล้วยไม้ที่ใคร ๆ ก็เรียกชื่อต้นว่า เข็ม แต่จริง ๆ เป็น แวนด้า (Vanda lilacina) ครับ
     แวนด้า ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคงจะหนีไม่พ้น เอื้องฟ้ามุ่ย เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกใหญ่ สีสวย อีกทั้งยังหายากด้วยครับการเลี้ยง แวนด้า ใบแบนนั้นจำเป็นต้องโรงเรือนเพื่อช่วยในการลดทอแสงให้อ่อนลง แวนด้า ที่ดูเหมือนจะเลี้ยงง่ายที่สุดน่าจะเป็น แวนด้าใบกลม เนื่องจากเป็น แวนด้า ที่ทนร้อนเก่งและไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนก็สามารถเลี้ยงได้โดยง่าย ส่วน แวนด้า ที่มีใบเป็นร่องหรือที่เราเรียกว่า แวนด้าใบร่อง นั้นเกิดจากลูกผสมระหว่าง แวนด้าใบกลม เข้ากับ แวนด้าใบแบนครับ ทั้งนี้ก็เพราะว่า แวนด้าใบแบนนั้นเลี้ยงค่อนข้างยาก จึงต้องนำมาผสมกับใบกลมเพื่อให้ลูกออกมาสามารถเลี้ยงได้ง่ายขึ้นและมีสีสวยบานทนขึ้นนั่นเองครับ

ลักษณะที่ดีของแวนด้านั้นกล่าวไว้ว่า
• ดอกฟอร์มต้องกลม อย่างฟ้ามุ่ยต้องพัฒนาให้กลม (แต่ปัจจุบัน ฟอร์มแบบบิน ๆ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันนะ)
• จำนวนดอกในก้านช่อ ๑ ก้าน ต้องมีจำนวนมากเข้าไว้ เช่นสามปอยขุนตานควรจะมีราว ๆ ๗ - ๘ ดอกเป็นต้น
• ก้านดอกสั้น หมายถึงเมื่อก้านดอกสั้นดอกจะกระจุกติดกับก้านช่อทำให้ดูเป็นพุ่มดอกสวยงามครับ
• ลวดลายบนดอกชัดเจน เช่น ฟ้ามุ่ยก็ต้องมีลายสมุกที่ชัดถึงจะสวยครับ
• ก้านช่อต้องแข็งและยาว เพื่อที่จะรับน้ำหนักของจำนวนดอกได้นั่นเองครับและยาวมากจำนวนดอกมาด้วยก็จะยิ่งสวยครับ


♠ ภาพ แวนด้า สามปอยขุนตาน เป็นแวนด้าพันธุ์แท้สายคุณชิเนนทร ที่มีจำนวนดอกถึง ๑๐ ดอกและมีคุณสมบัติครบถ้วนของลักษณะแวนด้าที่ดี
ลักษณะการปลูกเลี้ยง แวนด้า
     ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่า แวนด้า แต่ละชนิดนั้นชอบสภาวะอากาศแตกต่างกัน ถึงจะมีวิธีปลูกที่เหมือนกันแต่หากสภาวะโรงเรือนไม่เหมาะสมก็เฉาตายได้เหมือนกันครับ ทีนี้มาดูวิธีปลูกกันครับ
     • ส่วนใหญ่ แวนด้า เป็นกล้วยไม้รากอากาศครับ ดังนั้น ปลูกแบบใส่กระเช้าไม่ต้องใส่เครื่องปลูกก็ได้
     • การปลูก อาจจะใช้ฟิวมัดรากกับกระเช้าให้ไม่ให้ขยับได้ครับ
     • หลังจากนั้น นำอนุบาลไว้ในร่มรำไรหรือใต้แสลนอย่าถูกแสงมากจนกว่ารากจะเดินดี
     • แวนด้า ที่ออกขวดอาจจะผึ่งในตะกร้าสักระยะให้รากใหม่เดินแล้วค่อยหนีบนิ้วครับ
     • การหนีบนิ้วอาจจะใช้สเฟกนั่มมอส หรือ กาบมะพร้าวหนีบ
     • ไม้ใหม่รากยังไม่แข็ง อาจจะให้แต่น้ำหรือผสม บี๑ รดครับ
     • พอแข็งแรงดีก็ปรับเป็นให้ปุ๋ยสัปดาห์ละครัง เช่น ๒๑-๒๑-๒๑ เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นกล้วยไม้จะสวยหรือไม่สวยขึ้นอยู่กับความขยันของเราด้วยนะครับ หากขยัน แวนด้า ที่เราเลี้ยงก็จะให้ดอกสวยงามแต่หากไม่ละก็ แวนด้า ก็จะเฉาตายได้ครับ และก่อนจะนำ แวนด้า ชนิดไหนมาเลี้ยงควรจะศึกษาให้ดีก่อนเพราะบางชนิดเลี้ยงยากในพื้นราบเป็นต้นครับ 

กล้วยไม้สกุลเข็ม Ascocentrum



      กล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้อีกชนิดของไทยที่ชอบแสงแดดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มแสด ที่สามารถทนสภาพแสงได้ถึง 100% และยังเป็นสกุลเข็มที่ให้ดอกเก่งสีจัดและสวยงามมากชนิดหนึ่งของไทย
     ด้วยความทนร้อนที่น่าเหลือเชื่อประกอบกับสีสันที่โดดเด่นสะดุดตามาแต่ไกล กล้วยไม้สกุลเข็ม จึงเป็นที่นิยมในการทำลูกผสมเข้ากับกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่ชอบอยู่อากาศเย็น กลายเป็นลูกผสมสีสดชื่อดังมากมายจนลือชา
กล้วยไม้สกุลเข็ม แม้เราจะเรียกชื่อเหมือนกับว่าเป็นอีกหนึ่งสกุลของกล้วยไม้ แต่แท้จริงแล้ว กล้วยไม้สกุลเข็ม เป็นกล้วยไม้ประเภทแวนดา (Vandaceous Orchid) ที่มีขนาดเล็ก เท่านั้นเองครับ
กล้วยไม้สกุลเข็ม มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนดา สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น การเรียงตัวของใบเป็นแบบซ้อนทับกัน รูปร่างของใบแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งใบแบน ใบค่อนข้างจะอวบน้ำ และแบบที่สองเป็นแบบใบกลม แต่มีร่องลึกทางด้านบนของใบ รากเป็นระบบรากอากาศ ช่อดอกจะออกที่ตาตามข้อของลำต้นระหว่างใบต่อใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกหลายดอก ดอกมีขนาดเล็ก ดอกหันหน้าออกรอบด้าน กลีบนอกและกลีบในของดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ปากขยับไม่ได้ ใต้ปากมีเดือยเป็นถุงยาว เดือยมีขนาดสั้นกว่ารังไข่และก้านดอก เส้าเกสรอ้วนสั้นไม่มีฐาน กลุ่มเรณูกลมมี 2 ก้อน กล้วยไม้สกุลเข็ม ทุกชนิดดอกมีรูปร่างคล้ายกันแต่แตกต่างกันในเรื่องสี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสีสดใส เช่น สีแดงอมส้ม สีม่วง สีส้ม หรือสีเหลืองอมส้ม เมื่อต้นกล้วยไม้มีอายุมากขึ้น หรือเมื่อยอดหักหรือยอดเน่าตาที่อยู่ด้านล่าง ๆ ของลำต้นจะแตกหน่อออกมา ทำให้เกิดมีหลาย ๆ ยอดได้ด้วยลักษณะและสีสันที่สดใสของดอกดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม เป็นราชินีของกล้วยไม้ประเภทแวนดาแบบกระเป๋า
Highslide JS
จากการสำรวจพบว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม ที่มีอยู่ในโลกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคพื้นทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย เนปาล ศรีลังกา จีน พม่า ไทย ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เมื่อได้พิจารณาทางหลักภูมิศาสตราของอาณาบริเวณที่ปรากฏกล้วยไม้เหล่านั้นตามธรรมชาติแล้ว ก็น่าจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งกำเนิด กล้วยไม้สกุลเข็ม สำหรับในประเทศไทยนั้นปรากฏว่า กล้วยไม้สกุลเข็ม มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกภาคบางภาคอาจมี กล้วยไม้สกุลเข็ม หลายชนิด แต่บางภาคอาจมีเพียงชนิดเดียว
     ในประเทศไทยเราพบว่ามี กล้วยไม้สกุลเข็ม ปรากฏตามธรรมชาติอยู่ 4 ชนิด คือ เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มแสด (Ascocentrum miniatum) และแอสโคเซ็นตรัม เซมิเทอเรตติโฟเลียม (Ascocentrum semiteretifolium - ยังไม่มีชื่อภาษาไทย)

ลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด
Highslide JS
เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) ถิ่นกำเนิดของเข็มแดงในประเทศไทย คือบริเวณเริ่มตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ต่ำลงไปถึงจังหวัดตากและกาญจนบุรี พบในป่าที่มีระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง แต่ในฤดูแล้วความชื้นในอากาศอาจจะลดลงเหลือเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในต่างประเทศพบว่าเข็มแดงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ผ่านมาทางประเทศพม่าจนถึงประเทศไทย ลำต้นของเข็มแดงเมื่อสูงถึงประมาณ 20 เซนติเมตร มักจะพบว่าโค้งลงเพราะทรงตัวไม่ได้ และจะมีหน่อเกิดขึ้นทางส่วนล่าง ๆ ของลำต้น ใบค่อนข้างแคบ โค้ง เรียว และยาวที่สุดในบรรดา กล้วยไม้สกุลเข็ม ทุกชนิดที่พบในประเทศไทยด้วยกัน ความยาวของใบประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ค่อนข้างจะอวบน้ำ ใบเป็นสีเขียวอ่อน อ่อนกว่าสีของใบเข็มม่วงและเข็มแสดในระหว่างฤดูแล้วขอบของใบจะปรากฏเป็นจุดสีม่วงขึ้นประปราย และเมื่อความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้นจุดสีม่วงบนใบก็จะมีหนาแน่นยิ่งขึ้น ฤดูออกดอกอยู่ในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่กำลังให้ดอกอาจมีดอก 3-4 ช่อในเวลาเดียวกัน ต้นที่โต ๆ จะให้จำนวนช่อดอกมากขึ้น ช่อดอกตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือกว่านั้น กลีบดอกบานเปิดเต็มที่ดอกมีสีแดงอมสีส้มสดใส บานทนนับเป็นสัปดาห์

Highslide JS
เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) เข็มม่วงปรากฏตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี พบอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเข็มแดง แต่อยู่ในระดับความสูงมากกว่าเข็มแดง ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล พม่า จีน และลาว ตเข็มม่วงมีทรงต้นตั้งแข็งอาจมีความสูงได้ถึง 25 เซนติเมตร ใบเป็นประเภทใบแบน ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบค่อนข้างแข็ง ไม่โค้งมากนัก ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม ๆ ไม่เท่ากันหลายฟัน ใบมีสีเขียวคล้ำ ในช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งจะปรากฏจุดสีม่วงเล็ก ๆ บนใบโดยทั่วไป โดยเฉพาะใบที่อยู่ใกล้ ๆ ยอด ยิ่งแห้งแล้งมากจุดสีม่วงจะยิ่งเด่นชัดขึ้น ช่อดอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เป็นช่อตั้งรูปทรงกระบอก มีดอกประดับแน่นช่อ ประมาณช่อละ 30 ดอก ก้านช่อค่อนข้างสั้น

Highslide JS
เข็มแสด (Ascocentrum miniatum) เข็มแสดเป็น กล้วยไม้สกุลเข็ม ที่พบว่ามีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไปทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดนครราชสีมา เลย อุดรธานี ชัยภูมิ มุกดาหาร ต่ำลงไปทางภาคกลางพบที่จังหวัดจันทบุรี ทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงา และสตูล ในลักษณะภูมิประเทศทั้งที่ราบและที่เป็นภูเขา เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติกว่างขวาง จึงสามารถปลูกเลี้ยงให้เจริญงอกงามและออกดอกได้สม่ำเสมอตามฤดูกาลในทุกภาคของไทย ลำต้นของเข็มแสดสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นที่เจริญเติบโตมาก ๆ อาจสูงถึง 30 เซนติเมตร และมีหน่อที่โคนต้นหลายหน่อ ใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.0-1.5 เซนติเมตร โค้งเล็กน้อย ใบซ้อนชิดกันใบมีสีเขียวแก่ มีลักษณะหนา อวบน้ำ ปลายใบหยักเป็นฟันแหลม ๆ เล็กน้อยอาจจะมีจุดสีม่วงคล้ำบนแผนใบและขอบใบเมื่อกระทบสภาพแห้งแล้งเช่นเดียวกับเข็มแดงและเข็มม่วง ช่อดอกเป็นแบบช่อตั้ง ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ประมาณช่อละกว่า 50 ดอก ก้านช่อยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวเรียวมีความยาวประมาณ 1.0 เซนติเมตร กลีบนอกและกลีบในของดอกมีขนาดประมาณ 3 x 6 มิลลิเมตร ปากกระเป๋าและเดือยยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบดอกค่อนข้างหนา ผิวเนื้อกลีบ (Texture) เป็นมันมีสีส้มสดใส หรือสีเหลืองส้มสะดุดตามาก ฤดูออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ดอกบานทนไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์

เข็มชมพู (Ascocentrum semiteretifolium)เข็มชมพู เป็น กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดเดียมที่มีใบเป็นแบบใบกลม แต่มีร่องลึกทางด้านบนของใบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกสีม่วงอ่อน
     เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะของต้นและสีของดอกไม่เป็นที่สนใจของบรรดานักกล้วยไม้ทั่วๆ ไป ประกอบกับเป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างจะหายาก ทำให้ไม่มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันมากนัก
กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดสุดท้ายนี้ นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้หายากมากชนิดหนึ่งของไทย ในอดีตผมเองได้พบกับ กล้วยไม้สกุลเข็ม ชนิดนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดินทางอยู่บริเวณทุ่งหญ้าซาวานาที่กิ่วแม่ปานบนยอดดอยอินทนนท์ ขนาดลำต้นนั้นเล็กเกาะบนยอดไม้สูงโปร่ง ต้นตั้งตรงรับแสงแดด 100% เต็ม หากนำเข็มชนิดนี้มาปลูกเลี้ยงในพื้นราบ จะพบว่า กล้วยไม้จะค่อย ๆ ตาย เนื่องจากนิสัยชอบแสงแดดที่จัดแต่ไม่ชอบอากาศร้อน การนำเข็มชนิดนี้มาปลูกบนพื้นราบที่อากาศร้อนและต้องได้รับแสงแดดเต็มที่นั้นเป็นไปไม่ได้ จึงไม่ขอแนะนำให้หามาเลี้ยงครับ
กล้วยไม้ลูกผสมของสกุลเข็ม กล้วยไม้สกุลเข็ม นอกจากดอกจะมีสีสันสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในประเภทแวนดาด้วยกันแล้ว ยังมีช่อดอกแข็มชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกประดับแน่นช่ออย่างเป็นระเบียบ ตามปกติในต้นเดียวกันจะให้ดอกพร้อมกันหลาย ๆ ช่อ เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย นักผสมพันธุ์กล้วยไม้จึงจัดการผสม กล้วยไม้สกุลเข็ม ข้ามสกุลกับกล้วยไม้ในประเภทแวนดา เช่น กล้วยไม้สกุลแวนดา สกุลช้าง สกุลรีแนนเธอราผลปรากฏว่าได้ลูกผสมที่มีสันสวยงามผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป ออกดอกยิ่งขึ้น ดอกบานทนยิ่งขึ้น มีดอกตลอดทั้งปีไม่เป็นฤดูกาล และปลูกเลี้ยงง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอสโคเซ็นดา ซึ่งมีสายเลือดของสกุลเข็ม
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอสโคเซ็นดา (Ascocenda)
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลช้าง เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลรินโคเซ็นตรัม (Rhynchocentrum)
กล้วยไม้สกุลเข็ม ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลรีแนนเธอรา เกิดเป็นกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแอริโดเซ็นตรัม (Anridocentrum) เป็นต้น

กล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดาที่ปลูกเลี้ยงกันแพร่หลายมากก็เป็นลูกผสมระหว่างเข็มแดงกับกล้วยไม้สกุลแวนดาประเภทใบแบนเป็นส่วนใหญ่ เช่น กล้วยไม้แอสโคเซ็นดา มีดา อาร์โนลด์ (Ascocenda Meda Arnold) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างกล้วยไม้แวนดา รอธไชล์เดียนา (Vanda Rothschildiana) กับเข็มแดง แต่ละต้นให้ดอกที่มีสีสันแตกต่างกัน ตั้งแต่สีแดงไปจนถึงสีน้ำเงินและกล้วยไม้ลูกผสมเหล่านี้ได้มีการผสมกลับไปกลับมาอีกหลายระดับ ระหว่างกล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดากับเข็มแดง หรือระหว่างกล้วยไม้สกุลแอสโคเซ็นดากับกล้วยไม้สกุลแวนดาต้นเดิม หรือต้นอื่น ทั้งนี้เพื่อให้สีของดอกสดใสยิ่งขึ้นหรือดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่อดอกยาวขึ้น หรือมีลักษณะแปลก ๆ ใหม่ ๆ อย่างอื่นมากขึ้นอีก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น